ก.อุตสาหกรรม จัดทัพรัฐ-เอกชนระดมสมองโค้งสุดท้าย

08 ธ.ค. 2559 | 12:06 น.
กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกภาครัฐ-เอกชนกว่า 40 หน่วยงาน เร่งทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2579) พร้อมนำข้อคิดเห็นไปปรับปรุง เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

ที่ผ่านมาสถาบันอาหาร ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแกนกลาง ประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการต่างๆ และได้ดำเนินการจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2560 - 2579) เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะรัฐมนตรี โดยจัดทำขึ้นภายใต้ความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ตลอดจนประเด็นหลักที่คาดว่าจะมี ผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศใน 20 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ในส่วนของกิจกรรมกลางน้ำเป็นสำคัญ และชี้นำแนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่ควรให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัด ทำแผนหลายรูปแบบ อาทิ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานปฏิบัติ หน่วยสนับสนุน หน่วยนโยบาย การประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) และการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในระดับประเทศและระดับพื้นที่ พร้อมได้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาควบ คู่ไปกับอนาคตของประเทศที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประชารัฐร่วมใจ ประเทศไทยเป็นครัวของโลก”

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการพัฒนาและสร้างฐานเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศให้มีเสถียรภาพ ยืดหยุ่น มีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สังคม ชุมชน ท้องถิ่น และการก้าวย่างสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้วัตถุประสงค์ 4 ประการคือ  1) สร้างเสริมอุตสาหกรรมอาหารให้มีองค์ความรู้ ภูมิคุ้มกัน ความพอเพียง และมีบทบาทในการบริหารจัดการตนเอง เป็นสังคมนวัตกรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีการพัฒนาต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมอาหารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความมั่นคง และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย 2) เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และการแข่งขันของผู้ประกอบการอาหารไทยที่เป็นกลุ่มนักรบพันธุ์ใหม่ของอุตสาหกรรมอาหารไทย (New Warriors of Thai Food Industry) ให้รู้จักใช้ความรู้ ทักษะฝีมือในการต่อยอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าเพิ่ม (Value Added and Value Creation) รวมถึงการปรับเปลี่ยนทิศทางการทำธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตที่มี มาตรฐานระดับสากล

3) เร่งจัดระบบการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นครัวของโลก โดยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโดยภาคเอกชนในการพัฒนา World Food Valley Thailand ประกอบด้วย การสนับสนุนส่งเสริมกิจการพัฒนา เขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารอนาคต การส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์งานนวัตกรรมของภาคเอกชน พื้นที่การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบและการรับรองมาตรฐานของอาหารไทย และการกำกับดูแลการผลิตและการนำเข้าวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายการบริการงานพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจร/เบ็ดเสร็จเชิงบูรณาการ ตั้งแต่กิจกรรมระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ

4) สร้างอุตสาหกรรมอาหารให้มีเสถียรภาพ โดยมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (World and Regional Connect) มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถแข่งขันได้ มีความยืดหยุ่น และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย ให้เป็นจิ๊กซอร์ที่สำคัญตัวหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลก โดยการนำเสนอผ่านเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงต่างประเทศ

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน ในการจัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารกลางน้ำ(Mid-Stream) ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน โดยได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสาขาอุตสาหกรรมดั้งเดิม กลุ่มสาขาอุตสาหกรรมอนาคต และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการต่อเนื่อง โดยกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมดั้งเดิม เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ประเทศไทยต้องพยายามรักษาฐานการผลิตไว้ เพื่อให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนอย่างมีเสถียรภาพ ได้แก่ สาขาอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบการเกษตรหลัก (เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย หมู โค กุ้ง ไก่ ปาล์มน้ำมัน) กลุ่มสาขาอุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ สาขาอาหารสุขภาพ อาหารอนาคตในวิถีชีวิตทุกช่วงวัย หรือกลุ่มที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (เช่น Functional Food, Medical Food, Wellness Food, Supplement Halal Food) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมบริการต่อเนื่อง จะเป็นช่องทางการสร้างตลาดอุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาดโลก ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน อาหารริมทาง โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และธุรกิจจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) เป็นต้น

เป้าหมายของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ประกอบไปด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงาน ของอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นตัว ชี้วัดความสำเร็จ ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity) ของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ต่อปี โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้ Internet of Things เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเชื่อมโยงตลาด คุณภาพ มาตรฐาน ของเสีย การขนส่ง และการค้า เป้าหมายที่ 2 การส่งออกของของอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มมากขึ้น ตัวชี้วัดความสำเร็จ อัตราการขยายตัวการส่งออกของของ อุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 หรือไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัว ของการส่งออกรวมของประเทศ และบรรลุเป้าหมายเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาหารโลก (TOP 5) ภายในระยะเวลา 20 ปีเป้าหมายที่ 3 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของของอุตสาหกรรมอาหารมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีการขยายตัวร้อยละ 4-5 ต่อปี โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากผู้ประกอบการอาหารที่มี การปรับเปลี่ยนเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Growth) และผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) รวมแล้วไม่น้อยกว่า 35,000 ราย ภายในระยะเวลา 20 ปี

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถาบันอาหารได้เสนอยุทธศาสตร์กา รพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์หลักที่ต้องใช้ดำเนิน การกับวิสาหกิจอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภทและพื้นที่ทั่วประเทศ (Fundamental Strategy) ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างคุณภาพและความปลอดภัยอุตสาหกรรมอาหารไทย เน้นการสร้างเสริมขีดความสามารถ ในการจัดการคุณภาพและมาตรฐานของ ชุมชนเกษตรกรรมเพื่ออาหาร และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของวิสาหกิจการผลิตระดับอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเพิ่มขีดความสามารถนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เน้นการยกระดับความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป พัฒนามูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่า และนวัตกรรมสินค้าอาหารและธุรกิจบริการอาหาร การพัฒนาและผลิตกำลังคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาระบบสนับสนุนการปรับตัว ของวิสาหกิจอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 และอนาคตเน้นการพัฒนาปัจจัยเอื้อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 หรือและอนาคต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 หรือสูงกว่าในอนาคต และ 1 ยุทธศาสตร์มุ่งเป้า หรือ Targeting Strategy ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ประชารัฐยกระดับ Food Existing  S-Curve มุ่งหมายการผลักดันให้เกิดผลสำเร็จเป็นพิเศษ ได้แก่ การพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่ม S-Curve และการสร้างผู้ประกอบการใหม่(New Warriors) การจัดระบบการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นครัวของโลก (World Food Valley) และการพัฒนาตลาดอุตสาหกรรมอาหาร อนาคตและช่องทางการค้า (World Connect)

อนึ่ง ภายหลังจากการประชุมระดมความคิด เห็นในครั้งนี้ คณะทำงานจะได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2579) และเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในลำดับต่อไป