ตามรอยพ่อหลวง สถานีวิจัยโครงการหลวงและศูนย์พัฒนาโครงการในหลวงรัชกาลที่ 9

22 พ.ย. 2559 | 11:00 น.
ก้าวตามรอยพ่อไป คือความสุข การได้เรียนรู้และน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตเป็นบทเรียนแห่งคุณค่า สำหรับสถานีวิจัยโครงการหลวงในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 สถานที่ ประกอบไปด้วย สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มุ่งส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น ก้าวแรกของสถานีวิจัยโครงการหลวง สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ มุ่งสร้างงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐานพร้อมกับสร้างศูนย์การเรียนรู้ ด้านสถานีเกษตรหลวงปางดะ ศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผลที่สำคัญ และสถานีวิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้าแม่หลอด เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์สายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่มีสายพันธุ์จำนวนมาก งานทดสอบสาธิตการผลิตพืชผัก/สมุนไพร ไม้ผล และฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสัตว์เล็ก ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนพัฒนาเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน

MP32-3211-b ขณะเดียวกันสำหรับศูนย์พัฒนาโครงการหลวง มีจำนวน 34 ศูนย์ ประกอบไปด้วย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง ดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านพืชผัก ไม้ดอก ไม้ผล พืชเครื่องดื่มเมืองหนาวและหัตถกรรม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ทดสอบสาธิตการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด เป็นสถานีฯศึกษาและค้นคว้า ทดสอบพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาป่าและแหล่งต้นน้ำ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารการจัดการและพัฒนาศูนย์ฯให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างคุ้มค่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว เพื่อให้ราษฎรชาวเขาสำนึกถึงความเป็นไทยมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

รวมทั้ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยวศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยผักไผ่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า

MP32-3211-c นอกจากนี้มีหลากหลายหน่วยงานที่เข้ามาเติมเต็มในการสร้างองค์ความรู้ในการตามรอยพ่อหลวงกับสถานีวิจัยโครงการหลวงและศูนย์พัฒนาโครงการในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย หนึ่งในนั้นคือ บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการแผนที่ไทย NOSTRA Map จัดทำข้อมูลพิเศษ ผ่านแอพพลิเคชั่นแผนที่นำทางเพื่อรำลึกถึงพระราชกรณียกิจอันสร้างประโยชน์นานัปการแก่ประชาชนชาวไทย โดยแอพพลิเคชันแผนที่ Nostra Map เปิดให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบปฏิบัติการ ios และ Android เพียงเปิดแอพฯ แล้วเลือก “๙ ตามรอยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ ๙ Royal Project” ก็จะสามารถเข้าถึง 9 ตำแหน่งได้ทันที

พระราชดำริในการพัฒนาชนบทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงเน้นการพัฒนา 2 ประการหลักคือ 1.การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชน ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและสร้างสรรค์ อันเป็นการวางรากฐานเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองในระยะยาว โครงการพื้นฐานที่สำคัญนั้นคือ แหล่งน้ำ ผืนดิน และทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ และ 2.การส่งเสริมหรือสร้างเสริม โดยชาวบ้านในทุกท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าต่างๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญทรงพยายามที่จะถนอมขนบธรรมเนียมประเพณีและพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาพตัวอย่างของ “โครงการหลวง” คือบทเรียนที่สำคัญ เสมือนทรัพย์จากดินที่มีความมั่นคงแข็งและยั่งยืนดังเช่นรากแก้วของแผ่นดิน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,211 วันที่ 20 - 23 พฤศจิกายน 2559