ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และนัยต่อเอเชีย

11 พ.ย. 2559 | 08:01 น.
· การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของนายทรัมป์ จะมีนัยเชิงลบต่อเอเชียในสามช่องทางได้แก่การค้า ค่าเงิน และภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาค

· เราคาดว่าการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของนายทรัมป์จะส่งผลกระทบด้านลบต่อการค้าระหว่างสหรัฐและเอเชียหากสหรัฐกลายเป็นประเทศที่มีการกีดกั้นทางการค้ามากขึ้น มีการตั้งกำแพงภาษีหรือล้มเลิกการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) และข้อตกลงทางการค้าอื่น พัฒนาการทางการค้ากับสหรัฐในทิศทางลบอาจผลักดันให้ประเทศเอเชียพึ่งพาการร่วมกลุ่มกันองในภูมิภาคและกับประเทศจีนมากขึ้น

· ค่าเงินน่าจะมีความผันผวนมากขึ้นในระยะต่อไป อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่จะปรับขึ้นและเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าขึ้นจากการใช้แรงกระตุ้นทางการคลังที่สูงขึ้นของประธานาธิบดีทรัมป์ และการย้ายเงินเข้าสู่สินทรัพย์สกุลเงินดอลล่าร์สรอ.ของธุรกิจขนาดใหญ่จะกดดันให้เงินสกุลเอเชียอ่อนค่าลง

· ธนาคารกลางเอเชียมีแนวโน้มที่จะยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำยาวนานกว่าที่คาดไว้ เพื่อรองรับผลกระทบในทางลบที่เพิ่มขึ้นกับการค้าและการเติบโตของเศรษฐกิจ และทำให้สกุลเงินเอเชียที่อ่อนค่าลง แต่ในอีกมุมมองหนึ่งสกุลเงินเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินหยวนของจีนอาจจะเผชิญแรงกดดันให้แข็งค่าขึ้นหากประเทศจีนถูกมองว่าใช้นโยบายบิดเบือนค่าเงิน

· ภูมิศาสตร์การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคอาจมีความตึงเครียดมากขึ้นภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของนายทรัมป์เนื่องจากจากการประกาศระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งว่าต้องการสกัดการหาผลประโยชน์ของประเทศจีนในบริเวณทะเลจีนใต้

·เราต้องการความชัดเจนมากกว่านี้ในการประเมินผลกะทบของนโยบายนายทรัมป์ให้แม่นยำ ในขณะนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่านายทรัมป์จะใช้นโยบายอะไรที่ประกาศระหว่างการหาเสียงและกลไกกำกับและตรวจสอบของสภาคองเกรสจะเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงไร

ผลกระทบต่อประเทศไทย

ผลกระทบทางอ้อมรุนแรงกว่าทางตรง

ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางตรงจำกัดในด้านการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากยังไม่ได้เป็นสมาชิกของทีพีพี และการส่งออกไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่นมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากกว่า สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามของประเทศ การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวม 37,900 ล้านเหรียญสรอ.ในปี 2558 โดยเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐมูลค่ารวม 24,100 ล้านเหรียญสรอ.หรือร้อยละ11 ของการส่งออกรวม แต่อย่างไรก็ดีจะมีผลกระทบทางอ้อมเกิดขึ้นเนื่องจากสินค้าส่งออกไปยังประเทศจีนบางรายการเป็นใช้สำหรับผลิตเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐอเมริกา ในระยะกลางนโยบายกีดกันทางการค้าจะทำให้การค้าโลกลดลง ส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่กำลังบอบบาง และจะทำให้การลงทุนจากธุรกิจส่งออกของไทยล่าช้าออกไปอีก ทำให้ประเทศไทยสร้างวงจรการลงทุนรอบใหม่ได้ยากลำบากขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ นโยบายการเงินผ่อนคลายจะมีความจำเป็นในการพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

โดย นายจิมมี่ โค หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธนาคารยูโอบี