ผ่าช่องทางเติมเงินมือถือแสนล้าน

07 พ.ย. 2559 | 09:00 น.
ถึงตอนนี้ศึกบัตรเติมเงิน วัน-ทู-คอลในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ยังไม่จบแม้จะมีกระแสข่าวว่าทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ระหว่างเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกที่ลงตัว

หากแต่ปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคมเป็นต้นมาปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่ารายได้ของทั้งสองฝ่ายปรับตัวลดลงอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ แม้ วัน-ทู-คอล ของ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บอกว่ามีช่องทางเติมเงินกว่า 5 แสนช่องทาง แต่อย่าลืมว่า เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายที่สุด

M24320701 20ปีพันธมิตรคู่ค้า

ต้องบอกว่าเซเว่นอีเลฟเว่น กับ วัน-ทู-คอล เป็นคู่ค้าทางธุรกิจตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วหลังจาก เอไอเอส ได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 ซึ่งเป็นระบบอะนาล็อกเมื่อปี 2533 เป็นต้น และ เปิดตัวระบบเติมเงินพรีเพดภายใต้ชื่อ “วัน-ทู-คอล” ห้วงเวลานั้น บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ ซึ่งได้สัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 2.6 ล้านเลขหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล จาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็กระโจนเข้ามาสนามมือถือด้วยการซื้อหุ้นในบริษัท ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิส จำกัด หรือ WCS ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ได้สัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้น ออเร้นจ์ เอสเอ จากประเทศอังกฤษเข้ามาถือหุ้น และ ถอยฉากออกไป

M24320703 หากแต่ ณ ปัจจุบันนี้ กลุ่มทรูฯ ได้มีพันธมิตรใหม่ คือ ไชน่าโมบาย หลังจากกลุ่มทรู เข้าตลาดมือถือครั้งนั้น ถือว่าเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ เอไอเอส โดยตรง

ปัจจุบันผู้ใช้มือถือ 3 ราย ประกอบด้วย เอไอเอส จำนวน 39.3 ล้านเลขหมายแบ่งเป็นระบบเติมเงิน 33.5ล้านเลขหมายและแบบจ่ายรายเดือน 5.8 ล้านเลขหมาย , ดีแทค จำนวน 25 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นระบบเติมเงิน 20.4 ล้านเลขหมายและแบบจ่ายรายเดือนอยู่ที่ 4.6ล้านเลขหมาย และ ทรูมูฟ เอช จำนวน 21.5 ล้านเลขหมายแบ่งเป็นระบบเติมเงิน 16.2 ล้านเลขหมาย และ ระบบรายเดือน 5.3 ล้านเลขหมาย

M24320702  ชำแหละช่องทาง

ด้วยตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องฐานลูกค้าจาก1หมื่นมาเป็น 1 ล้านและเพิ่มเป็น 60 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน ขณะนี้ระบบเติมเงินมีสัดส่วนมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาคือระบบแบบจ่ายรายเดือน เพราะฉนั้นบรรดาผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย (ดูตารางประกอบ)

 ขยายช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุมมากที่สุด

นอกเหนือจากแฟรนไชส์ของตัวเองแล้วต้องอาศัยช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี เป็นต้น หากแต่ช่องทางที่เข้าถึงได้ดีที่สุด คือ เซเว่นอีเลฟเว่นเพราะเข้าถึงรากหญ้าได้เป็นอย่างดีมีร้านค้า 9 พันกว่าแห่งนั้นจึงเป็นที่มาที่ เอไอเอส-ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ต้องพึ่งพาช่องทางเซเว่น - อิเลฟเว่น

แต่ทว่าเซเว่นอีเลฟเว่นและ ทรูมูฟเอช มีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน คือ ซีพี หรือ บริษัท เครือเจิรญโภคภัณฑ์ จำกัด จึงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าทั้งสองค่ายต้องการสลัด วัน-ทู-คอล ออกจากระบบ

“ไม่สามารถพูดแทนเซเว่นได้เกี่ยวกับปัญหาการยกเลิกขายบัตรเงินวัน ทู คอลเนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขการเจรจาที่ผ่านมา ”ทรูมูฟ เอช” เราไม่ได้สิทธิพิเศษแต่อย่างใดจากทางเซเว่นฯ”

นั้นคือคำให้สัมภาษณ์ของ “ศุภชัย เจียรวนนท์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์ ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

 มูลค่าตลาดแสนล้าน

หากคิดตัวเลขแบบคร่าวๆ กรณีเติมเงินในเซเว่นฯ จำนวน 100 บาทต่อ 1 ครั้งได้เงินจาก เอไอเอส ในการจัดเก็บค่าจีพี (Gross Profit) ในสัดส่วน 5% คิดจากจำนวนผู้ใช้ระบบเติมเงิน30 ล้านเลขหมาย เป็นเงินทั้งสิ้น 150 ล้านบาท/วัน/เดือนอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท และ ต่อปีอยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ ดีแทค ถูกเก็บค่าจีพีอยู่ที่ 7% คิดจากฐานลูกค้า 20 ล้านเลขหมาย 140 ล้านบาท/วัน/เดือนอยู่ที่ 4,200 ล้านบาท และ ต่อปีอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท และ ทรูมูฟ เอช ถูกเก็บค่า จีพี ในอัตราส่วน 7% คิดจากลูกค้า 21 ล้านเลขหมาย 147 ล้านบาทต่อวัน/เดือนอยู่ที่ 4,410 ล้านบาทและต่อปีอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งหมดต่อปีอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท

รอดูกันต่อไปศึกระหว่างเซเว่นอีเลฟเว่นกับ วัน-ทู-คอล โดยมี ทรุมูฟ เอช แทรกอยู่ตรงกลางเกมส์นี้จะจบสวยหรือไม่แต่ที่แน่ๆกรณีเกิดขึ้นตามที่เป็นข่าว เชื่อว่าแม้ว่าค่ายทรูจะใช้กลยุทธ์ยึดช่องทางเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ทรูเป็นต่อเอไอเอสเท่านั้น ส่วนจะก้าวมาเป็นผู้นำตลาดเมื่อไหร่นั้นยังต้องมองกันยาวๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,207 วันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน 2559