ค้าชายแดนวืดเป้า ชง”บิ๊กตู่ “ปิดจุดอ่อน

03 พ.ย. 2559 | 01:00 น.
พาณิชย์แจงค้าชายแดน เดือนกันยายนร่วง 4.8% คาด ทั้งปี 59 พลาดเป้าจากที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านมากถึง 12% เมื่อเทียบปี 2558 เผยยอด9เดือน ขยับแค่ 2% นิยม ไวรัชพานิช- หอฯแม่สอดระบุ เมียนมาผลิตสินค้าทดแทน จีน-สิงค์โปร –อินเดีย เวียดนาม เสียบ จับจ่ายเชียงรายกระทบปิดท่าเรือสบหลวย-ลาวโขกค่าธรรมเนียมตู้คอนเทนเนอร์ลิ้ว 4-5หมื่นบาท จาก 3,000บาทที่แขวงบ่อแก้ว-เชียงของ /ตามด้วยแวตลาว 10% ขณะที่ สระแก้ว-สงขลารับยอดค้าแผ่ว หอการค้าไทย ผ่าทางตัน ชง”บิ๊กตู่” ผ่อนกฎระเบียบ-เจรจาเพื่อนบ้าน

จากตัวเลขที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าค้าชายแดนและค้าข้ามแดน ปี 2559 ต้องโตกว่าปี 2558มากถึง 15% หรือ 1.7ล้านล้านบาท แต่ล่าสุดกลับพบว่าตัวเลขเดือนกันยายน 2559 การค้าชายแดน (ระหว่างไทยกับมาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา)มีมูลค่า 81,856 ล้านบาท ลดลง 4.8% ขณะที่การค้าผ่านแดน(สิงคโปร์ จีนตอนใต้ เวียดนาม) มีมูลค่า 15,538 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 9.9% รวมการค้าชายแดนและผ่านแดนมีมูลค่าทั้งสิ้น 97,354 ล้านบาท ลดลง2.7%ขณะยอดรวม 9 เดือนแรก( มกราคม –กันยายน 2559) การค้าชายแดนมีมูลค่า 745,361 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 0.8% ได้ดุลการค้าชายแดน 144,892 ล้านบาท การค้าผ่านแดนมีมูลค่า115,218 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% เกินดุลการค้า 2,968 ล้านบาท รวมการค้าชายแดนและผ่านแดนมีมูลค่าทั้งสิ้น 860,578 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.0%

ต่อเรื่องนี้นาย นิยม ไวรัชพาณิชย์ รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปัจจัยลบค้าชายแดนทั้งปี 2559 คาดการณ์ว่า จะต่ำกว่าเป้า มากถึง 12%อยู่ที่ประมาณ 1.4ล้านล้านบาท จากที่ตั้งไว้ที่ 1.7ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 ทั้งนี้เกิดจากเมียนมาสั่งซื้อสินค้าลดลง ปัญหาค่าเงินจ๊าดอ่อนค่า ส่งผลทำให้จับจ่ายลดลง ขณะที่ฝั่งสปป.ลาว ฝั่งแขวงบ่อแก้ว-เชียงของจังหวัดเชียงราย ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถ10ล้อหรือ ตู้คอนเทนเนอร์สูงถึงเที่ยวละ 50,000 บาท จากเดิม แค่ 3,000 -4,000 บาท รวมทั้งล่าสุด ชายแดนลาวตั้งแต่เชียงรายไล้ไปยังอุดรหนองคาย ยังจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 % จากการซื้อสินค้าข้ามฝั่งลาว หากเกิน 50 ดอลล่าสหรัฐ อย่างไรก็ดีต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ หอการค้าไทย จะหารือร่วมกับหอการค้าชายแดนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพื่อสรุปปัญหาเสนอพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อผ่อนปรนกฎระเบียบฝั่งไทยและ เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว

“ค้ากับเมียนมายอดตกมากที่สุด ขณะที่ภาพรวมแต่ละปี ยอดค้าชายแดนเคยบวกถึงกว่า 10% แต่ปีนี้ เหลือแค่ 3% “

สอดรับกับ นายชัยจตุพักตร์ ถิระวันธุ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก ระบุว่า ปัจจุบันเมียนมาผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เดิมที่สั่งซื้อเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญสินค้าที่ไทยที่ผลิตและส่งออก ประเทศจีนสิงคโปร มาเลเซีย อินเดียฯลฯ ต่างก็ผลิตได้เช่นเดียวกัน ที่สะดวกกว่านั้นคือ ระบบธนาคาร ที่สามารถโอนเงินโดยไม่ต้องถือเงินสดซึ่งคู่แข่งไทย มีช่องทางทางการค้าที่ได้เปรียบ ก่อนหน้าที่ไทยมีพรมแดนติดกับเมียนมาที่ส่งผ่านสินค้าได้รวดเร็วอย่างไรก็ดีการค้าชายแดนและข้ามแดนที่อำเภอแม่สอดเพิ่มขึ้น 20% หรือ 80,000ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 แต่ ทั้งปี จะทะลุแสนล้านคงไม่น่าจะทำได้ ทั้งนี้เนื่องรัฐบาลตั้งเป้าไว้ค่อนข้างสูงซึ่งที่ทั้งปี มูลค่ารวม 1.7ล้านล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นจากปี 2558 15% ในภาพรวมทั้งประเทศ

ด้าน ชายแดน ภาคเหนือดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงรายวิเคราะห์ว่า ปี 2559 ค้าชายแดนและข้ามแดนจังหวัดเชียงราย ระหว่างเมียนมา ลาว และจีนตอนใต้ รวม 3,624 .31 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 159.29 ล้านบาท หรือ 4.21% และส่งออกรวม 2,658.29 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกัน 94.57ล้าน บาท หรือ 3.44 %
สำหรับยอด9เดือน มกราคม-กันยายน มูลค่าการค้ารวม 33,572.82ล้านบาท ดุลการค้า 23,447.24ล้านบาท เทียบกับปี2558ช่วงเดียวกัน อยู่ที่ 32,828.25 ล้านบาท ซึ่งการค้ากับเมียนมา ลดลงมากถึง -22.86 % เห็นชัดช่วงเดือนสิงหาคม –กันยายน เกิดจากเมียนมาปิดท่าเรือสบหลวย ขณะที่ ฝั่งแขวงบ่อแก้ว –เชียงของ ติดปัญหา ลาวเก็บค่าธรรมเนียมตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านแดนไปยังจีนเพิ่มขึ้นถึง 40,000-50,000 บาทจาก 3,000 บาท ต่อเที่ยวส่วน ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเรียกเก็บเฉพาะคนลาวหรือไทยที่ซื้อสินค้าข้ามฝั่งไปขายเท่านั้น

นายสมมาตร จุลิกพุงศ์ ประธานฝ่ายเศราฐกิจการค้าชายแดนจังหวัดสงขลาสะท้อนภาพรวมการค้าไทยกับมาเลเซียว่า ยังทรวงๆ เนื่องจาก ราคายางพาราราคาลดลง จากภัยแล้งแต่ปัจจุบัน กระเตื่องขึ้นเล็กน้อยแต่ปัญหาพืชผักผลไม้ที่มากับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีระบบกำกับอุณหภูมิทิ้งค้าง จำนวนม่ากเนื่องจากยอดสั่งลดลงประกอบกับค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดีค้าชายแดนสงขลาน่าจะอยู่ที่ 500,000 ล้านเทียบปี 2558 อยู่ที่ 700,000 ล้านบาท

มาที่ชายแดนภาคตะวันออก นายประมวล เขียวขำ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสระแก้วกล่าวว่า ค้าชายแดนไทยกับกัมพูชาลดลง อย่างต่อเนื่อง เกิดจาก เศรษฐกิจโลก ทำให้การสั่งซื้อลดลง คาดว่าทั้งปี 2559 การชายแดนด้านสระแก้วน่าจะอยู่ที่ 70,000 ล้านบาทจากปี 2558 อยู่ที่ 80,000 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,205 วันที่ 30 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2559