"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

19 ธ.ค. 2566 | 12:45 น.

ก้าวใหม่ “มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้านผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ ตั้งเป้า 10 ปี หวังส่วนแบ่งการตลาด 35% จากไก่เนื้อ 4,000 ล้านตัวต่อปี และไก่ไข่ 200 ล้านตัว คาดเปิดขายหุ้น ๆ ละ 10 บาท ประมาณกลางเดือน ม.ค. และ เริ่มปันผลตั้งแต่ปลายปีที่ 2568

ประเทศไทย เป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกต้องใช้เงินหลายล้านบาทต่อปี ในการสั่งปู่ย่าไก่ไข่ และไก่เนื้อ (GP)และพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ( PS) เข้ามาเลี้ยงเพื่อขยายในเชิงพาณิชย์ทั้งไก่เนื้อและไก่ไข่ในอุตสาหกรรม ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

นายมานิจ วิบูลย์พันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามเฮอริเทจ บรีดดิ้ง จำกัด เจ้าของมานิจฟาร์ม  อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากที่บริษัทได้มีการเซ็นสัญญาทางธุรกิจกับ MR. S.M.RAFIUL HOG กรรมการผู้จัดการ บริษัท GEORGICA จำกัด จากประเทศบังคลาเทศเพื่อซื้อขายไก่ไข่และลูกไก่เนื้อระดับพ่อแม่พันธุ์และปู่ย่าพันธุ์ โดยจะมีการส่งมอบล็อตแรกในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 ทำให้มีความมั่นใจในคุณภาพพันธุกรรมไก่ไทยว่า จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  ทางฟาร์มจึงมีแผนขยายตลาดเพิ่มเติมไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน และมีแนวคิดที่จะเปิดรับนักลงทุน ร่วมเป็นเจ้าของมานิจฟาร์ม เพื่อผลิตพ่อแม่พันธุ์ และปู่ย่าพันธุ์ส่งขายไปยังต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการทั้งไก่เนื้อไก่ไข่ภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้า

 

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

“จากการรวบรวมข้อมูลการบริโภคอาหารโปรตีนของประชากรโลก พบว่า ในปี 2562 ประชากรโลกเกือบ 8,000 ล้านคน ปี 2562 บริโภคไข่ไก่เกือบ 2 ล้านล้านฟอง และบริโภคเนื้อไก่ 200 ล้านตันไข่ไก่และเนื้อไก่ เป็นโปรตีนเข้าถึงง่าย บริโภคได้ทุกชาติทุกศาสนา ซึ่งไก่เนื้อและไก่ไข่ มีรอบการผลิตที่สั้นกว่าปศุสัตว์อย่างอื่น และต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่า ทำให้ธุรกิจไก่เนื้อและไก่ไข่ตอบเทรนด์ของโลกได้ชัดเจนที่สุด”

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

นายมานิจ กล่าวอีกว่า จากสัดส่วนตลาดการบริโภคไข่ไก่ทั่วโลก ทำให้มีแผนการตลาดในปี 2567 – 2569 เป้าหมายเข้าไปมีส่วนแบ่งการตลาดในต่างประเทศ  5-10% ส่วนแบ่งภายในประเทศ 20-25% และคาดที่จะเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้นปีละ 5-10%  และมั่นใจว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า มานิจฟาร์ม จะมีส่วนแบ่งการตลาดรวมทั้งในไทยและ 5 ประเทศประมาณ 35% จากไก่เนื้อ 4,000 ล้านตัวต่อปี และไก่ไข่ 200 ล้านตัว ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจสอดรับกับแผน จึงเป็นที่มาของระดมทุนจากนักลงทุนหรือจากคนไทยทั่วประเทศ

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

"ด้วยความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มในการพัฒนาพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ออกมา เพื่อต้องการให้เป็นทรัพย์สมบัติของคนไทยไว้ใช้งานตลอดไป ทดแทนการการซื้อพันธุ์จากต่างประเทศ แต่เมื่อมีโอกาสที่จะขายส่งออกให้กับต่างประเทศ เพื่อดึงเงินตราเข้ามาในประเทศ คนที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมด้วย คือ คนไทยทั้งประเทศ ทั้งที่อยู่ในรูป บริษัท ห้างร้าน สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มกองทุนหมู่บ้านต่าง ๆ รวมถึงคนไทยทุกคน"

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

ดังนั้นการที่จะเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของมานิจฟาร์ม ใช้เงินแค่ 10 บาท ก็สามารถเป็นถือหุ้นของมานิจฟาร์มได้ 1 หุ้นขั้นต่ำ 50 หุ้น (500 บาท) ออกขายรอบแรก 100 ล้านหุ้น รวม 1,000 ล้านบาท โดยผู้ที่ถือหุ้นจะได้สมาร์ทการ์ด 1 ใบ  เงินปันผลจะโอนเข้าสมาร์ทการ์ด สามารถเบิกถอนเงินปันเสมือนบัตรเอทีเอ็ม และสามารถโอนซื้อ-ขายหุ้นกันเองด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดผ่านตู้เอทีเอ็มหรือร้านสะดวกซื้อ จำนวนหุ้นในบัตรสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์แทนทองคำหรือโฉนดที่ดินได้ตามมูลค่าหุ้น กำหนดปันผลปีละ 1 ครั้ง เริ่มปันผลตั้งแต่ปลายปีที่ 2568 โดยคาดว่าจะเริ่มขายหุ้นประมาณกลางเดือนมกราคม 2567 

 

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

 

“ธุรกิจไก่พันธุ์เป็นธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพและเป็นเจ้าแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีพันธุ์ต้นกำเนิดเป็นของตนเองและสัญชาติไทย ธุรกิจนี้ มีส่วนที่เป็นกำไรมากกว่า 200% มากกว่าธุรกิจการเลี้ยงไก่โดยทั่วไป และเป็นธุรกิจแรกที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของโดยแท้จริง”

 

\"มานิจฟาร์ม” ลุยระดมทุนพันล้าน ผลิต GP-PS ไก่ไข่- ไก่เนื้อ ส่งออก 5 ประเทศ

นายมานิจ กล่าวด้วยว่า  การร่วมทุนเป็นเจ้าของสายพันธุ์ ที่มีศักยภาพสูงในบนห่วงโซ่ตลาดไก่เนื้อไก่ไข่ คือ ความภาคภูมิใจเพราะเป็นไก่สัญชาติไทย ที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของ ด้วยเม็ดเงินลงทุนเพียงหลักร้อย สามารถเพิ่ม “กำไร”ของหน่วยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นทุกปี และมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงไว้ทั้งหมดตลอดห่วงโซ่การผลิต เป็นฟาร์มมาตรฐานที่สากลยอมรับและพันธุกรรมทนทานต่อสภาพแวดล้อม ต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่าพันธุกรรมหลักในตลาดโลก