Deepening CLMV Urbanization เจาะลึกศักยภาพ 4 เมืองใหม่ เตรียมพร้อมสู่การลงทุนเต็มรูปแบบ

26 ก.พ. 2560 | 02:00 น.
เพราะการเติบโตทางธุรกิจของภาคเอกชนมิได้มีความหมายเฉพาะถึงองค์กรเจ้าของธุรกิจนั้นนั้น แต่มีความหมายถึงการเติบโต ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศและภูมิภาคต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ในกลุ่มอาเซียน Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam จนเป็นที่มาของชื่อย่อที่น่าสนใจที่สุดในเวลานี้คือ “CLMV” การขับเคลื่อนในด้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัดในตลอดหลายปีที่ผ่านมาทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนต่างมองเห็นศักยภาพที่สำคัญของประเทศต่างๆ ที่ค่อยๆ ฉายพลังออกมาอย่างเห็นได้ชัด และด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันกลุ่มประเทศ CLMV ได้พัฒนาสู่การเป็นหมุดหมายและฐานพลังการผลิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนในระดับภูมิภาค พร้อมต่อยอดสู่การเติบโตในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

MP31-3239-3 กอปรกับเมื่อพิจารณาแนวโน้มและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาที่พึ่งพาการส่งออกมากกว่าร้อยละ 70.2 ของ GDP โดยตลาดส่งออกสำคัญของไทยได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน 24.7% จีน 11.7% ญี่ปุ่น 10.2% ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปซึ่งเคยเป็นตลาดสำคัญในอดีต ขณะนี้มีสัดส่วนการส่งออกเพียง 10% และ 9.5% ตามลำดับ สวนทางกับการส่งออกในกลุ่มประเทศ CLMV ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านสองปัจจัยสำคัญคือ การมีประชากรรวมกันมากกว่า 137 ล้านคน พร้อมกับการเติบโตด้านการศึกษาและรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการเป็นพื้นที่เชื่อมต่อของสินค้าไปสู่ผู้บริโภคทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้การเข้าถึงตลาดการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมบทบาทการค้าและการลงทุนของประเทศไทยต่อไป

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงร่วมกับ ศูนย์ ซี อาเซียน ผู้นำด้านกลยุทธ์และองค์ความรู้เพื่อสร้างอนาคตของอาเซียน จัดโครงการ “Deepening CLMV Urbanization: Explore the rising stars of CLMV” นำผู้ประกอบการรุกตลาดเมืองใหม่ที่มีศักยภาพการค้าและการลงทุนสูงในกลุ่มประเทศ CLMV ประกอบด้วย เมืองเสียมราฐ เมืองจำปาสัก เมืองมัณฑะเลย์ และเมืองไฮฟอง

MP31-3239-2 เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา: ดาวเด่นอุตสาหกรรมบริการ อาหาร วัสดุก่อสร้าง การผลิตและการท่องเที่ยว ชูจุดแข็งด้วยค่าจ้างแรงงานที่มีอัตราต่ำสุดในอาเซียนคือประมาณ 8,500 เรียล/วัน หรือประมาณ 75 บาท/วัน พร้อมแรงงานที่มีอัตราอายุเฉลี่ยที่ 20-34 ปี มีกำลังซื้อและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภูมิประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร มีศักยภาพในการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก พ่วงท้ายด้วยการอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ 100% และได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนในชาติ

เมืองจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: ศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาค (Land Link) ที่สามารถเชื่อมต่อทั้งอินเดียและจีน ส่งเสริมภาคการนำเข้าและส่งออกได้อย่างดีเยี่ยม แม้ค่าครองชีพจะค่อนข้างสูงแต่สำหรับค่าแรง ยังอยู่ในอัตรา 18,000 กีบ หรือ 80 บาท/วัน เหมาะสำหรับการเป็นฐานผลิตและกระจายสินค้า พร้อมสิทธิพิเศษด้านภาษีมากมาย

เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์: เมืองยุทธศาสตร์ใหม่ในเขตการค้าในกลางประเทศเมียนมาร์ เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และทรัพยากรธรรมชาติ จุดเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้านการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% และเปิดสำนักงานสาจาเพื่อทำการผลิตและบริการได้ ดึงดูดใจสุดๆ กับการยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปีแรกของการดำเนินธุรกิจ และ 7 ปีแรก สำหรับผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เมืองไฮฟอง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม: “Gateway to the World” สุดยอดพิกัดทางภูมิศาสตร์ เมืองโลจิสติกส์แห่งเวียดนามตอนเหนือ ประตูสู่จีน เมืองท่าน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการค้า การลงทุน และการกระจายสินค้าแห่งอนาคต เปิดศักยภาพและความพร้อมด้วยพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีความพร้อมด้านโลจิสติกส์และสาธารณูปโภคเต็มรูปแบบ

พร้อมคว้าโอกาสทองด้วยการเข้าไปศึกษาและเจาะลึกพื้นที่การลงทุนใหม่ทั้ง 4 เมือง ได้แล้ววันนี้กับโครงการ “Deepening CLMV Urbanization” สำรองที่นั่งและจัดตารางการเดินทางเพื่อเปิดโอกาสธุรกิจการค้า การลงทุนก่อนใคร

สำรวจตลาดเมืองไฮฟอง ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2560 ค่าใช้จ่าย 19,850 บาท/คน

สำรวจตลาดเมืองมัณฑะเลย์ ระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 ค่าใช้จ่าย 29,850 บาท/คน

สำรวจตลาดเมืองเสียมราฐ ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2560 ค่าใช้จ่าย 22,850 บาท/คน

สำรวจเมืองจำปาสัก ระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2560 ค่าใช้จ่าย 25,850 บาท/คน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] หรือโทร +66 (2) 785-9093

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,239
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2560