‘SMEs Turn Around’ พลิกวิกฤต สร้างโอกาส สู่ความสำเร็จ

26 ก.พ. 2560 | 13:00 น.
เรา “มุ่งเน้น” การปฏิรูปการสอนเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุลในยุค Internet of Things ควบคู่ไปกับการผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ อย่างไรก็ดีเรามีความพร้อมในการ “มุ่งสร้าง” ผ่านการพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ พัฒนาแรงงานที่มีทักษะวิชาชีพ และเทคโนโลยีชั้นสูงนั้นให้กับภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งนี่เป็นแนวทางและแหล่งพลังงานที่สำคัญที่ทำให้เรา “มุ่งปฏิบัติ” ในการส่งเสริมให้คณาจารย์และกลุ่มนักศึกษาลงเรียนรู้ในสนามแข่งจริงผ่านการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ด้วยรูปแบบโครงการที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า นอกจากแนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น การนำระบบสเต็มศึกษามาปรับใช้ การสร้างความร่วมมือกับ Singapore Polytechnic สำหรับการฝึกอบรมคุณครูและอาจารย์ในทุกแขนงสาขากว่า 200 คน ใน 8 ราชมงคล รวมทั้งโครงการไทย-เยอรมัน Meister ซึ่งทั้งหมดได้เกิดการบ่มเพาะจนเกิดเป็นรากแก้วที่สำคัญในการขยายผลสู่การสร้างความร่วมมือกับทาง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในโครงการ “SMEs Turn Around” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการคิด วิเคราะห์ และหาที่มาของสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเกิดความผิดพลาด ชะลอตัว และปิดตัวลงในที่สุด นำมาพัฒนาและปรับปรุงเพื่อฟื้นโครงสร้างตลอดจนปรับแผนธุรกิจในการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตขึ้นอีกครั้ง

[caption id="attachment_131898" align="aligncenter" width="220"] รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[/caption]

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ฉายภาพรวมหลังการปฏิบัติงานในโครงการ SMEs Turn Around ได้อย่างน่าสนใจว่า ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ได้ดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้นพบว่ากว่าร้อยละ 65 ของผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาคือการทำธุรกิจแบบซื้อมาและขายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่เทรนด์เปลี่ยนไปไวกว่าการเปิดหน้ากระดาษ ฉะนั้นเมื่อเราทราบถึงปัญหาวิธีการที่เราตกผลึกและนำมาแก้ไขคือ การส่งต่อองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ซึ่งผ่านจากการวิจัยและพัฒนาจากภายในมหาวิทยาลัย โดยผลงานวิจัยในแต่ละปีของเรานั้นมีมากกว่า 200 ชิ้นงาน

“เราไม่ได้มุ่งเน้นแต่เพียงผลิตบัณฑิต แต่เรามุ่งสร้างโอกาสและยกระดับ SMEs ไปควบคู่กันด้วย” โดยกระบวนการส่งต่อองค์ความรู้นั้นเรามอบเวทีแห่งนี้ให้คณาจารย์และกลุ่มนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์และค้นหาปัญหา และดำเนินการจัดการปัญหาต่างๆเหล่านั้นด้วยวิชาความรู้จากคณะต่างๆ อาทิ ระบบฝ่ายผลิตเราใช้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบบการเงินเราใช้คณะบัญชี กลยุทธ์ในการรุกตลาดเราใช้คณะบริหารธุรกิจ หรือแม้กระทั่งธุรกิจที่มุ่งเน้นการออกแบบเราใช้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น สำหรับผลการดำเนินงานนั้นเราได้ทำการ Turn Around ให้กับ SMEs กว่า 10,000 ราย และร้อยละ 30 จากนั้น สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจหรือเกิดการฟื้นตัวได้อีกครั้ง สำหรับอีกร้อยละ 70 ที่เหลือเราพร้อมบ่มเพาะในการคิดหาวิธีและแก้ไขปัญหาต่างๆต่อไปด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาสร้างความยั่งยืนมาเป็นแก่นหลักในการก้าวเดิน ซึ่งในปีนี้จะเข้มข้นขึ้นและพร้อมปลุกพลัง SMEs ไทยให้กลับมายืนหยัดในตลาดภายในประเทศและอาเซียน+3 ได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

MP30-3239-2 สำหรับกลยุทธ์หลักที่เรานำมาต่อยอดจากการดำเนินการในปีที่ผ่านมานั้นคือ “การสร้างความยั่งยืน” ซึ่งโจทย์ที่เรานำมาคิดและบูรณาการร่วมกันนั้น คือ การทำอย่างไรให้ภาคการผลิตในประเทศไทยได้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยทางมหาวิทยาลัยมุ่งหน้าในการเติมเต็มและป้อนชิ้นงานทางนวัตกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นล่าสุดกับงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ RT'60 (Open House) ที่นำเสนอผลงานของคณาจารย์และนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ และนี่เป็นย่างก้าวที่สำคัญในการขยายผลงานและส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ไปสู่ตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ดีสำหรับแผนการพัฒนาต่อจากนี้ทาง มทร.ธัญบุรี ยังคงมุ่งปฏิบัติและมุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นล่าสุด ได้ลงนามความร่วมมือกับทาง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในการเจาะตลาดออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการกระจายถึงผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ตอัพ (Start-up) ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหม่ของธุรกิจไทย เพื่อสร้างห่วงโซ่แห่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนในภาคธุรกิจต่อไป
ผลลัพธ์ที่ได้จากการบ่มเพาะจากการปฏิบัติจริง เรียนรู้จริง ในโครงการ“SMEs Turn Around” นั้น ทางมหาวิทยาลัยได้นำมาปรับสอนและสร้างการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันทั้งครูและนักศึกษา ก่อเกิดเป็นผลงาน สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนงานวิจัยกว่า 200 เรื่อง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคอุตสาหกรรม ยกระดับ SMEs ไปพร้อมๆกับการฟื้นตัว ตลอดจนเพิ่มเสถียรภาพในทุกมิติสู่ความได้เปรียบในอาเซียนสำหรับอนาคตด้วยเทคโนโลยี และนี่คือเป้าหมายที่สำคัญของ มทร.ธัญบุรี ในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์เศรษฐกิจของประเทศต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,239
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2560