ป่าต้นน้ำ ดอยอินทนนท์ กับความมั่นคงทางอาหาร

25 กุมภาพันธ์ 2560
TP31-3238-B คนกรุงจำนวนไม่น้อย ทราบเพียงว่า น้ำก๊อกที่มีให้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองทุกวันนี้ ผลิตมาจากน้ำที่คลองประปาพร่องมาจากแม่น้ำ ซึ่งไหลมาจากเขื่อนอีกทอดหนึ่ง แต่มีน้อยคนที่ทราบว่า น้ำในแม่น้ำ มีที่มาจากดอยห่างไกล แม้หลายคนได้ยินเรื่องป่าต้นน้ำมาบ้าง แต่ไม่ทราบความเชื่อมโยงระหว่างป่าต้นน้ำ กับ น้ำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เชิญสื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆไปทัศนะศึกษาป่าต้นน้ำ ผ่าน เส้นทางศึกษาธรรมชาติ น้ำตกผาดอกเสี้ยว และกิ่วแม่ป่าน ในเขตอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

TP31-3238-C เส้นทางกิ่วแม่ปาน 3.2 กิโลเมตร ขึ้นชื่อเรื่องป่าเมฆ และความหลากหลายของธรรมชาติจนน่าอัศจรรย์ ทั้งบรรยากาศดึกดำบรรพ์ลำต้นไม้สูงใหญ่ถูกห่อหุ้นด้วยมอสพื้นดินไม้ร่มอย่างเฟินแย่งกันขึ้น ทุ่งหญ้า ต้นกุหลายพันปีซึ่งทำหน้าที่รับผู้มาเยือน อีกทั้งยังมีห้วยสายเล็กๆฉ่ำน้ำมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นป่าต้นน้ำ(อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป) ชั้นเยี่ยมในหุบเขา

TP31-3238-F ส่วนเส้นทาง น้ำตกผาดอกเสี้ยว มีน้ำตกผาดอกเสี้ยวเป็นแม่เหล็ก ระยะทาง 2.5 กิโลกเมตร(กม.) หากเดินอย่างศึกษาใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง ตามทางนอกจาก ลำธาร และน้ำตก มากมายแล้วยังผ่านหมู่บ้านม้ง และไปสุดทางที่หมู่บ้านปกาเกอะญอที่มีกาแฟออร์แกนิกบริการคนเดินทางอีกด้วย

TP31-3238-D โก๋...เจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ผู้นำทางและวิทยากรเคลื่อนที่ให้กับคณะ ให้ข้อมูลว่าป่าตามเส้นทางที่เดินคือ ป่าดิบเขา (สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1.200เมตรขึ้นไป) ส่วนต้นไม้ที่ถือเป็นต้นไม้หลักของป่าคือ ต้นไม้ก่อ พะโล้ มะขามป้อมดงฯและเป็นป่าไม้ผลัดดัน พร้อมกับบอกหลักการจำป่าง่ายๆว่ามี 2 ประเภท คือผลัดใบ กับ ไม่ผลัดใบ ป่าดิบเขาบนดอยอินทนนท์เป็นป่าไม่ผลัดใบเขียวชอุ่มตลอดปี

TP31-3238-G วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ขยายความเรื่องป่าต้นน้ำให้คณะฟังว่า ดอน อินทนนท์เป็นต้นน้ำสำคัญของลุ่มน้ำปิง ลุ่มเจ้าพระยาอาศัย ปิง-วัง-ยม-น่าน แต่สายหลักคือ ปิง กับ น่าน ไทยเราไม่มีหิมะ ไม่มีแหล่งน้ำ เราเสียเปรียบพม่าที่ยังมีลุ่มน้ำสาละวิน ที่รับน้ำจากหิมาลัยส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าป่าทางเหนือของเราเป็นอะไรไป ลุ่มเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวของพวกเราจะได้รับผลกระทบมากแน่ ถ้าเราไม่สามารถป้องกันพื้นที่ทางเหนือได้ ขณะที่คนเพิ่มขึ้น ประเทศมีปัญหาแน่นอน

TP31-3238-H วุฒิชัยกล่าวว่าอยากให้การเรียนรู้ที่คณะได้จากทัศนะศึกษา(ป่าต้นน้ำ)ในครั้งนี้นำไปสู่การร่วมกันป้องกัน ป่าต้นน้ำ เช่นเดียวกับ ซีพีเอฟ ซึ่งตระหนักถึงปัญหานี้และได้กำหนด สามเสาหลักสู่ความยั่งยืน(ดินน้ำป่าคงอยู่-สังคมพึ่งตนเอง-อาหารมั่นคง) เป็นแนวทางเดินขององค์กร และซีพีเอฟ ได้จองพื้นที่เขาพระยาเดินธง 5,000 ไร่(จังหวัดลพบุรี) เพื่อปลูกป่าภายใน 5 ปี โดยมีเป้าหมายฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสักที่เริ่มมีปัญหาขาดแคลนน้ำ

แน่นอนการปกป้องป่าต้นน้ำไม่ใช่หน้าที่ของ เจ้าหน้าอุทยานดอยอินทนนท์ นักอนุรักษ์องค์กรธุรกิจ หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกๆคน เพราะป่าต้นน้ำเปรียบเหมือนของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติมอบให้กับทุกๆคน หากของขวัญชิ้นนี้เสื่อม หรือ สิ้นสภาพไป ผลกระทบย่อมมาถึง พวกเราทุกคน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,238 วันที่ 23 - 25 กุมภาพันธ์ 2560