ต้องมนต์ ‘ลัคเนา’ ความคลาสสิกแห่งชมพูทวีป (ตอน1)

21 ก.พ. 2560 | 01:00 น.
ดินแดนแห่งชมพูทวีป แม้จะอบอวนไปด้วยวิถีแห่งศาสนาพรหมณ์-ฮินดู แต่สำหรับ “ลัคเนา” เมืองหลวงใน“รัฐอุตรประเทศ” ของ “อินเดีย”กลับเป็นเมืองที่คุณจะค้นพบศาสนาสถานของฮินดูน้อยมาก ด้วยเหตุที่ว่าเมืองนี้ หลังจากฮินดูหมดอำนาจก็ถูกปกครองโดย “มุสลิม”ที่มาจากเปอร์เซีย โดยที่ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเดลี และส่งสุลต่านมาปกครองลัคเนา ด้วยความที่เป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของอินเดีย

TP26-3237-5 ทำไมถึงเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำของอินเดีย” เราเห็นได้ตอนเครื่องบินจะลง จะเห็นเทือกเขาหิมาลัยสูงเสียดฟ้า หากออกไปนิดเดียวก็ออกเนปาลได้ ซึ่งแนวสายน้ำจากเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีแร่ธาตุไหลลงมา เอื้อให้ปลูกอะไรก็ขึ้น ทั้งห่างไปอีกราว 300 กิโลเมตร ยังสามารถชมทัชมาฮาลได้อีกด้วย

ทั้งยังเป็นเมืองที่ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่เคยถูกปกครองโดยมุสลิมที่มาจากเปอร์เซีย และราชวงศ์โมกุลจากมองโกเลีย(เชื้อสายเจงกีสข่าน)รวมถึงถูกอังกฤษปกครองในยุคเมืองขึ้น ทำให้เมืองแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องงานศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันทั้งแบบมุสลิมเปอร์เซีย และยุโรป จนกลายเป็นความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมสุดคลาสสิก

[caption id="attachment_130919" align="aligncenter" width="500"] Naqqar Khana บ้านโบราณที่มีสถาปัตยกรรม หลากหลายผสมผสาน Naqqar Khana บ้านโบราณที่มีสถาปัตยกรรม หลากหลายผสมผสาน[/caption]

ปักหมุดเที่ยวซิตี ทัวร์ เมืองลัคเนา กันที่“Constantia House” พระราชวังฤดูร้อนของนายพล “คลอดด์มาร์ติน”ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Gomtiที่ภายหลังดัดแปลงเป็น“ La Martiniere” วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วน และเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดประเทศ ณ ที่แห่งนี้คุณจะได้เรียนรู้ประวัติของสถานที่สำคัญ เรื่องราวของกองทัพ และความสวยงามของสถาปัตยกรรมยุโรป ในปีค.ศ. 1785 อันมีเอกลักษณ์รูปปั้นที่งดงาม การตกแต่งประณีตด้วยวัสดุจากกรุงปารีส

อีกไฮไลต์ของซิตีทัวร์ที่ห้ามพลาด คือ “อัมเบดการ์เมมโมเรียลพาร์ค” (Ambedkar Memorial Park) สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้ “ดร.อัมเบดการ์” ผู้เกิดมาในชนชั้นจัณฑาล ต่อสู้ในสังคมที่แบ่งชนชั้นวรรณะในศาสนาฮินดูจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต แม้ท่านจะจากไปแล้ว แต่ก็ทิ้งแต่ความดีไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สรรเสริญ โดย ดร.อัมเบดการ์ ยึดถือความเสมอภาคของมนุษย์เป็นสำคัญ ดังนั้นท่านจึงหาหนทางนำพระพุทธศาสนา กลับเข้าสู่ประเทศอินเดียอีกครั้ง และท่านยังมีจุดมุ่งหมาย เพื่อต่อสู้ให้อินเดียหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นผู้ตรากฎหมายสำคัญสำคัญของอินเดีย

[caption id="attachment_130922" align="aligncenter" width="500"] พระราชวังฤดูร้อนของนายพลมาร์ติน พระราชวังฤดูร้อนของนายพลมาร์ติน[/caption]

แลนด์สเคปของ “อัมเบดการ์เมมโมเรียลพาร์ค” ที่นี่ไม่ใช่สวนตันไม้แต่เป็นสิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่อลังการด้วยลานกว้างประดับประดาด้วยเสาหัวช้าง และรอบด้านมีแต่รูปปั่นช้างสง่างาม โดยเฉพาะยามจัดไลติ้งในยามค่ำคืน

ทั้งลัคเนายังเป็นเมืองที่เคร่งครัดในศาสนา ทำให้แม้ยุคนี้แม้เราจะอยู่ใน ปี 2560 แล้ว แต่ก็ยังได้เห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันของชาวเมืองลัคเนา อันเป็นเสน่ห์ดั้งเดิม อย่าง การใช้เกวียน รถม้า รถถีบ วัว สัญจรอยู่บนถนน ผู้คนยังคงใส่ “ส่าหรี” ชุดประจำชาติอินเดียตั้งแต่เมื่อ 4,000 ปี และลัคเนา ยังเป็นประตูสู่ดินแดนสังเวชนียสถาน เนื่องจากที่นี่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมหลัก มีทั้งสนามบิน แหล่งชุมทางรถไฟไปยังเมืองสำคัญทั่วประเทศ ซึ่งเป็นประตูนำชาวพุทธจากทั่วทุกสารทิศเดินทางต่อไปยังสังเวชนียสถานสำคัญอย่าง ลุมพินี กุสินารา ราชคฤห์ พาราณาสี

[caption id="attachment_130920" align="aligncenter" width="500"] อัมเบดการ์เมมโมเรียลพาร์ค อัมเบดการ์เมมโมเรียลพาร์ค[/caption]

การเดินทางมาเที่ยวที่นี่ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะวันนี้ “สายการบินไทยสมายล์” เปิดทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ-ลัคเนา 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทุกวันอังคาร วันพฤหัส และวันเสาร์ และเส้นทางลัคเนา-กรุงเทพฯ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เช่นกัน คือวันพุธวันศุกร์ และวันอาทิตย์ ด้วยเครื่องบินแอร์บัสเอ320-200 เดสติเนชันใหม่ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางสู่อินเดีย ให้คุณได้เรียนรู้วิถีชีวิตและสัมผัสวัฒนธรรมอันแตกต่าง กับประสบการณ์ใหม่ด้านการท่องเที่ยว ณ ชมพูทวีป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,237 วันที่ 19 - 22 กุมภาพันธ์ 2560