พฤทธิ์ บุปผาคำ ที่นี่ไม่มี‘ฮีโร่’แต่ต้องการ‘ทีมสปิริต’

17 ก.พ. 2560 | 01:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กว่า 14 เดือนของการนั่งเก้าอี้ ผู้จัดการใหญ่บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจคาร์ด จำกัดหรือทีพีซีของ “พฤทธิ์ บุปผาคำ” ถือว่าเป็นเอ็มดีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับ “ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด” สู่รูปแบบการขายที่โกอินเตอร์อย่างแท้จริง

รวมถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด จากความสามารถทำให้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจมากถึง 195.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 82% และคาดว่าในอีก 4-5 ปีนี้น่าจะล้างการขาดทุนทางบัญชีได้หมด

คุณพฤทธิ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้เราฟังว่า วันนี้โครงการอีลิทการ์ดจะยุบหรือไม่ยุบ ไม่ใช่ประเด็นเหมือนในอดีตแล้ว เพราะไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนขึ้นมาก็ตามทุกรัฐบาลมีนโยบายเหมือนกันหมด คือตอ้ งการที่จะยกระดบั ประเทศไทย ใน 2 เรื่องคือ 1. ในเรื่องของการท่องเที่ยวและ 2. กระตุ้นให้เกิดการลงทุน และทีพีซี ก็อยู่ภายใต้การถือหุ้นของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ดังนั้นสิ่งที่เป็นประเด็นในวันนี้คือ เราจะสร้างสิ่งที่รัฐบาลต้องการได้รึเปล่า

ทำให้การทำงานของเราชัดเจนว่าผมจะบริหารองค์กรให้เดินไปสู่เป้าหมายที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยเน้นการสร้างไฮโพรไฟล์ให้กับประเทศไทย หรือการดึงพรีเมียมทัวริสต์เข้ามา นั่นก็คือการที่ไทยจะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มพรีเมียม รีพีตเตอร์ (มาซํ้า)เข้ามามากขึ้นและดึงให้เกิดการลงทุนในไทยของกลุ่มไพรเวต อินเวสต์เมนต์ และกำลังมองไปถึงการสร้างให้ไทยเป็นจุดหนึ่งของโลกสำหรับด้านการวางแผนที่อยู่อาศัยในไทย(เรสิเดนต์) จุดนี้จะทำให้เกิดการสร้างงานในไทยเพิ่มมากขึ้น

การจะเดินไปสู่เป้าหมายอย่างประสบความสำเร็จ ทำให้ผมต้องมาวางระบบและจัดระเบียบการทำงานในองค์กรให้สอดรับกับการเดินไปในทิศทางข้างหน้า

นับจากวันแรกที่ผมเข้ามาบริหาร ผมไม่หนักใจเลย เพราะจากประสบการณ์การคุมงานด้านการขายของการบินไทย จนมีกำไร 5,000 ล้านบาทในปี 2552 และกำไร1.5 หมื่นล้านบาทในปี 2553

[caption id="attachment_130299" align="aligncenter" width="318"] พฤทธิ์ บุปผาคำ พฤทธิ์ บุปผาคำ[/caption]

ดังนั้นด้วยประสบการณ์ด้านการขายที่สั่งสมมา จึงถูกนำมาปรับวิธีการขายอีลิท การ์ด ที่ต้องเจาะไปที่ตลาดในต่างประเทศอย่างแท้จริง และทำให้อีลิทการ์ดเป็น “โกลบัล แบรนด์”

สิ่งที่ผมต้องให้ความสำคัญคือ การแก้ปัญหาในองค์กร อันดับแรกเป็นเรื่องของการตั้งงบประมาณ ที่ตอนผมเข้ามาผมดูจากค่าใช้จ่ายพบว่ามีการตั้งค่าใช้จ่ายเกินความเป็นจริงอยู่ร่วม 100 ล้านบาทต่อปี ทำให้ขาดทุนทางบัญชีมาตลอด ผมจึงได้ปรับวิธีการลงบัญชีใหม่ ปรับให้ค่าใช้จ่ายไม่ถึง 1แสนบาท และบวกกำไรเพิ่มขั้นได้อีก 10%ทำให้ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ 195.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82%

ขณะเดียวกันผมยังมีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้ตอบสนองการปฏิบัติงาน โดยสร้างองค์กรให้เน้นเรื่องของเซอร์วิสและคอมเมอร์เชียลมากขึ้น มากกว่าจะเป็นงานด้านแอดมินต่อมาผมก็มองต่อว่าโปรดักต์ที่เรามีอยู่เดิม มันไม่สามารถทำให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ทำให้ผมต้องสร้างโปรดักต์ใหม่ จึงนำไปสู่การออกบัตรใหม่ 4 รูปแบบ แต่ละบัตรจะมีสิทธิประโยชน์แตกต่างกันตามไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน เพื่อหากลุ่มเป้าหมายใหม่

ควบคู่ไปกับการตั้งตัวแทนจำหน่ายรอบโลก ซึ่งก็เห็นผลเพราะวันนี้เรามีลูกค้าต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในไทยเพิ่มเข้ามาร่วม30% จากที่เป็นศูนย์ นี่เองทำให้ในปีที่ผ่านมาเรามีรายได้เพิ่มขึ้นมาร่วมกว่า 100 ล้านบาทจากปีก่อน และต่อไปภาพลักษณ์ของเราในต่างประเทศก็จะดีขึ้น จากที่เรามีตัวแทนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการร่วมเป็นพันธมิตรกับเฮนลีย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส

“การบริหารงานที่ผมนำมาใช้กับองค์กรของเรา คือ เราไม่ต้องการฮีโร่ ที่นี่ เราต้องการทีมสปิริต ทุกคนต้องมีความเป็นลีดเดอร์ชิพ ลีดเดอร์ที่มีวิชัน ลีดเดอร์ที่มีทีมสปิริต เพราะเราต้องการเห็น ความเป็นโพรเฟสชันนัล หรือทักษะการทำงานที่เป็นมืออาชีพ ยิ่งเรามีความเป็นมืออาชีพมากเท่าไหร ลูกค้าก็จะมั่นใจมากเท่านั้นเพราะเราเป็นบริษัทบริการ สิ่งที่ต้องวัดอันแรก คือ ต้องจัดการเรื่องของบริการนั่นเอง”

นี่จึงเป็นที่มาจึงทำให้เราเริ่มจากภายในองค์กรก่อน มีการจัดระดับมาตรฐานการบริการในทุกแผนก ที่ต้องทำให้เกิดการบริการที่รวดเร็ว แม้แต่คอลล์เซ็นเตอร์เองก็ต้องสื่อสารให้กระชับรวดเร็ว

ถามว่าทำไมต้องทำให้เวลาสั้นลง เรามองว่าการจะเพิ่มลูกค้าขึ้นเป็นปีละ 700 คนและปีละ 1,000 คนในอนาคต ถ้าคุณใช้เวลาคุยนานเท่าเดิม คุณจะรับมือไม่ได้ และไม่เพียงแต่การวัดมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเท่านั้น การบริการระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง ก็ต้องวัดระดับมาตรฐานนี้ด้วย เช่นการจัดซื้อแต่ละโครงการเดิมใช้เวลา 10 วันลดลงเหลือ 3-4 วันได้ไหม การจ่ายเงินจาก 30 วันทำให้สั้นลงได้ไหม

“ทุกวันนี้เราตัดเรื่องขั้นตอนตามออร์แกไนเซชันออกไป หมายถึงห้องผมใครๆก็เข้ามาได้ ไม่ต้องผ่านขั้นตอน ที่สำคัญผมให้อำนาจกับไดเร็กเตอร์ทุกท่านในการทำงาน ทุกวันนี้ถ้ามีประชุม เราก็คุยกันทุกอาทิตย์ เรื่องของเซลล์ มาร์เก็ตติ้ง และไอที พูดกันถึงรายได้บริษัทและเรื่องค่าใช้จ่ายควบคู่กันไป ดูอย่างเดียวเรื่องเบสิคเลยว่า รายได้ต้องมากกว่ารายจ่ายเท่านั้นพอทั้งที่สำคัญคือ เราได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ไว้ใจและสนับสนุนการทำงานของเรา ขณะเดียวที่นี่ไม่มีอาเจนดาที่ลึกลับมากนัก การทำงานก็ไปได้เร็ว และเมื่อผมสร้างทีมงานที่ดี ธุรกิจย่อมดี เพราะถ้าทีมงานไม่ดีกำไรก็ไม่ได้อยู่แล้ว” คุณพฤทธิ์ กล่าวปิดท้ายมุมมองในการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จที่เกิดขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,236 วันที่ 16 - 18 กุมภาพันธ์ 2560