ไฟเขียวผังระบายน้ำทั่วไทยนำร่องภาคใต้ล็อกเขตป่า-ที่นาห้ามผุดอาคารขวางทางนํ้า

25 ม.ค. 2560 | 09:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

มท.1 ไฟเขียวโยธา รื้อใหญ่ผังเมืองรวมทั่วประเทศออกกฎผังระบายนํ้าขีดวงเขตป่าสงวน-ป่าพรุ-พื้นที่นํ้าไหลผ่านให้เป็นโซนอนุรักษ์ -ล้อมคอกเรือกสวนไร่นา โซนสงวนหวงห้าม ห้ามสร้างอาคารขวางทางนํ้า เว้นแต่ยกใต้ถุนสูงเริ่ม 14 จังหวัดใต้ หวั่นชาวบ้านโวยทุบราคาที่ดิน

ภาพเหตุการณ์นํ้าท่วมซํ้าซาก ในหลายพื้นที่ที่ผ่านมาและล่าสุดทางภาคใต้ ปมใหญ่เกิดจากการขยายตัวของเมืองที่โตแบบก้าวกระโดด รัฐเร่งก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานกระจายสู่ภูมิภาคมากขึ้น ฉุดให้การพัฒนาต้องล้อตามความเจริญสวนทางกับผังเมืองที่ยังตามไม่ทัน จึงเกิดการใช้ที่ดินอย่างสะเปะสะปะไร้การควบคุม

นายมณฑล สุดประเสริฐอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทุกจังหวัดต้องมีผังระบายนํ้า เพื่อกำหนดโซนให้เป็นพื้นที่รับนํ้าป้องกันนํ้าท่วม โดยเฉพาะหลังจากภาคใต้เกิดวิกฤตินํ้าท่วมใหญ่

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองเสริมว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1)เห็นชอบให้จัดทำผังระบายนํ้าทั้งประเทศ แต่เบื้องต้นให้นำร่อง14 จังหวัด ภาคใต้ก่อน รูปแบบจะรื้อใหญ่ผังเมืองรวมชุมชนผังเมืองจังหวัดทั่วประเทศแม้ที่ผ่านมา จะประกาศผังเมืองรวมจังหวัดไปแล้ว 34 จังหวัดและอีก39 จังหวัด เตรียมประกาศใช้ภายในเดือนมกราคมนี้ แนวทางแก้ไข้โดยจะออกข้อกำหนดผังระบายนํ้าแทรกในผังเมืองรวมจังหวัด ซึ่งประเมินว่าต่อไปการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่เหมาะสมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี เบื้องต้นต้องศึกษาระบบลุ่มนํ้า ตั้งแต่เหนือลงมาสูภ่ าคใต ้ รวมทั้งตรวจสอบปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ป่าว่าจะซับนํ้าได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับสาระสำคัญของผังระบายนํ้า จะกำหนดโซนพื้นที่เขตป่าสงวนอุทยาน ป่าพรุ และพื้นที่ที่เป็นทางนํ้าไหลผ่าน เป็นเขตอนุรักษ์ห้ามบุกรุกสร้างสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางนํ้า ขณะที่พื้นที่ที่เป็นเรือกสวนไร่นากำหนดเป็นเขตสงวนหวงห้ามและอนุรักษ์ หากจะสร้างที่อยู่อาศัยต้องยกพื้นสูงหรือเปิดช่องให้นํ้าไหลผ่านได้นอกจากนี้เจ้าของที่ดินจะต้องกำหนดสัดส่วนพื้นที่โล่งว่าง เช่นที่ดิน 1 ไร่ ควรกำหนดพื้นที่ว่างเพื่อทำบ่อหน่วงนํ้าหรือแก้มลิงในช่วงหน้านํ้า ก่อนระบายลงสู่พื้นที่สาธารณะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งพื้นที่ว่าง อาจจะมากถึง 50-70%ของพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและอยู่ชานเมือง

นอกจากนี้ยังนำรูปแบบจากญี่ปุ่นมาใช้ คือ ดาดฟ้าจะต้องมีที่เก็บนํ้า ก่อนปล่อยลงพื้นสาธารณะเป็นต้น ส่วนพื้นที่เขตเมืองท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำพื้นที่ปิดล้อมเขตชุมชนหรือย่านธุรกิจ ไม่ให้ นํ้าเข้าสู่เมือง เช่นสร้างเขื่อนล้อมรอบริมนํ้า มีประตูระบายนํ้า เหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้นหรือ กำหนดให้แต่ละโซนต้องขุดคลอง เพิ่มแก้มลิง เช่นเดียวกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่มีคลอง ร.1 บายพาสนํ้าไม่ให้เข้าเมือง

การก่อสร้างถนน จะต้องตรวจสอบผังเมืองและจะต้องไม่สร้างขวางทางนํ้า หากจำเป็นต้องสร้างจะต้องเจาะช่องให้นํ้าไหลผ่านได้ ซึ่งทั่วประเทศ จะกำหนดข้อกำหนดในลักษณะเดียวกันสำหรับผังเมืองรวมจังหวัด 14จังหวัดภาคใต้ ล่าสุดมีผังเมืองบังคับใช้เพียง 7 จังหวัดได้แก่ระนอง ยะลา นราธิวาส ภูเก็ตนครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง

มุมกลับหากควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อการระบายนํ้า ประเมินว่ามูลค่าที่ดินอาจไม่ปรับเพิ่ม และกระทบต่อจิตวิทยาหากที่ดินพัฒนาไม่ได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,229 วันที่ 22 - 25 มกราคม 2560