เปิดแฟ้มฉาว 'โรลส์-รอยซ์'คนบินไทย-ยุคทักษิณเอี่ยว

22 ม.ค. 2560 | 05:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

การที่ดีดีบินไทย “จรัมพร โชติกเสถียร” สั่งตั้งกรรมการสอบพนักงาน-ผู้บริหารการบินไทย หลัง “โรลส์-รอยซ์” ยอมจ่ายเงินกว่า 800 ล้านดอลลาร์ เพื่อยอมความข้อหาติดสินบนให้กับนายหน้าในหลายประเทศ รวมถึงไทย ในการขายเครื่องยนต์รุ่นเทรนท์ 800 ช่วงปี2534-2548 เมื่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษหรือเอสเอฟโอและเจ้าหน้าที่ต้านทุจริตของสหรัฐฯ พบว่าโรลส์-รอยซ์จ่ายสินบนจริง

จ‹่ายสินบน 3 ครั้ง1.3 พันล.

คดีสินบนฉาวข้ามชาติที่ผ่านมาร่วม 25 ปีวันนี้การจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกันเองภายในองค์กร เชื่อว่าคงไม่ง่าย เพราะพนักงานและผู้บริหารหลายคนในการบินไทยที่เป็นตัวละครที่เกี่ยวข้อง หลายคนก็เสียชีวิตและเกษียณกันไปแล้ว ทั้งการจ่ายสินบน ยังมีพาดพึงประเด็นการจ่ายสินบนให้ระดับรัฐบาลอีกต่างหาก การตั้งกรรมการสอบภายในจะไปได้เรื่องอะไรมากมาย ถ้าไม่มีหน่วยงานด้านการตรวจสอบทุจริตของประเทศเข้าไปร่วมด้วย

ใครจะผิดจะถูก ก็ต้องพิสูจน์กันแต่แน่ๆคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการกินสินบนจากคนในการบินไทย คนของรัฐบาลจริง ซึ่งรัฐบาลไหน ประธานบอร์ดคนใด ดีดีท่านไหน ดูแลการบินไทย ในช่วงดังกล่าว ตรวจสอบกันไม่ยาก เพราะคำแถลงข้อเท็จจริง จากศาลที่เมืองซัธเธิร์ก ที่กรุงดอนลอน ยกเฉพาะกรณีที่พัวพันกับการบินไทย พบว่ามีการจ่ายสินบนที่มีทั้งหมด 3 ครั้งรวมวงเงินสินบน 1,300 ล้านบาท

MP26-3229-B ครั้งแรก เกิดขึ้นในการจัดซื้อ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2534 - 30 มิถุนายน 2535 โดยโรลส์-รอยซ์ยอมจ่ายเงิน ราว 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 663 ล้านบาท) ให้แก่ นายหน้าคนกลางในภูมิภาค โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทย ซึ่งบุคคลเหล่านี้คาดหวังว่าจะให้ความความช่วยเหลือโรลส์-รอยซ์ในการจัดซื้อเครื่องเครื่องยนต์เทรนท์ 800 ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2534 การบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ ต่อมาซื้อเครื่องยนต์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 8 ลำ ขณะเดียวกันโรลส์-รอยซ์ก็ได้เพิ่มเงินจ่ายให้กับนายหน้าในภูมิภาค ผู้ซึ่งมีอิทธิพลในการตัดสินใจการซื้อขาย

ในเอกสารระบุว่าโรลส์-รอยซ์บอกนายหน้าในภูมิภาคว่าราคาของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเครื่อง และในเดือนมิถุนายน 2534 บันทึกภายในของโรลส์-รอยซ์ระบุว่า นายหน้าคนกลางมีเงินจำนวนทั้งหมดรวม 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ขยายความต้องการ โรลส์-รอยซ์จึงได้จัดการเงินจำนวนดังกล่าวเป็น 1.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเครื่องยนต์ เพื่อจ่ายให้กับนายหน้าคนกลาง ซึ่งพนักงานที่ร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวสำเนาเอกสารควรเก็บไว้เพียงหนึ่งชุด นอกนั้นควรทำลายทิ้ง

ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535-31 มีนาคม 2540 โดยโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงิน 10.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 336 ล้านบาท) ให้นายหน้าคนกลาง ซึ่งเงินดังกล่าวบางส่วนไปให้พนักงานการบินไทย และการบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777อีก 6 ลำโรลส์รอยซ์จ่ายเงินให้กับนายหน้าคนกลาง สำหรับค่าความสำเร็จ เป็นเงินราว 5.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (135 ล้านบาท) ได้ถูกทำให้เป็นทางการผ่านสัญญาตกลงร่วมกันให้แก่นายหน้าคนกลาง

อย่างไรก็ตามในเวลานั้นการสั่งซื้อดังกล่าวไม่มีการดำเนินการ 2 ปีต่อมา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 โรลส์รอยซ์จ่ายเงิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯให้กับนายหน้าคนกลาง ในแง่ที่ว่าการตกลงยังไม่เป็นผลสรุป ในเดือนเมษายน 2538 การสั่งซื้อยังไม่เรียบร้อย ทำให้โรลส์รอยซ์ส่งสัญญาตกลงร่วมกันไปให้นายหน้าคนกลางในปี 2535 ที่เสนอจ่าย 1 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯต่อเครื่องยนต์ และยังมีการเปลี่ยนแปลงข้อเสนอถึงเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง
โดยในสัญญาตกลงร่วมกันระบุว่า การจ่ายเงิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการจ่ายล่วงหน้าถึงเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง โดยในเดือนเมษายน 2538 นายหน้าคนกลางเขียนถึงโรลส์รอยซ์อธิบายว่าไม่ถูกต้อง

“การจ่ายเงินของโรลส์รอยซ์เป็นเพียงล็อบบี้เจ้าหน้าที่ของการบินไทย ไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นการล่วงหน้า”

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2538 สัญญาตกลงร่วมกันถูกคอนเฟิร์มว่าการจ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสินไหมกรุณาและไม่ได้หักจากค่าคอมมิชชั่นของนายหน้าคนกลาง

 จ‹่ายครั้งที่ 3 มีรมต.ร‹วมเอี่ยว

สุดท้ายครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28กุมภาพันธ์ 2548 ระบุว่ามีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับนายหน้าคนกลาง 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทยเมื่อคณะรัฐมนตรีของไทย มีกำหนดการในการประชุม จดหมายฉบับล่าสุดถูกส่งไปยังนายหน้าคนกลาง โดยระบุว่าค่าคอม-มิสชัน ของเครื่องยนต์เทรนท์ 800 ทั้งหมดควรจ่ายในวันที่ 7 มกราคม2548

ทั้งนี้ในวันที่ 4 ธันวาคม 2547 อี-เมล์โรลส์-รอยซ์ ระบุว่าการสั่งซื้อของการบินไทยได้รับการอนุมัติ และในอีเมล์ของวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ยังมีการกล่าวถึง “การเตือน-นายหน้าคนกลาง ได้รับประทานอาหารกับผู้ช่วยรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม และนายหน้าคนกลางอาจตัดสินใจในทันทีในการช่วยเหลือสนับสนุนตามคำร้องขอ”

นี่เป็นเพียงการจ่ายสินบนที่มีหลักฐานชัดเจน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เพียงรุ่นเดียว แต่จริงๆแล้วปัจจุบันการบินไทย ได้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ ทั้งหมด 47 ลำ และใช้บริการเครื่องยนต์เทรนท์ทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเทรนท์ 500 เทรนท์ 700 เทรนท์ 900 เทรนท์ 1000 และเทรนท์ XWB

หากถามว่านายหน้าโรลส์-รอยซ์ เป็นใคร วงในรู้กันดีว่าเป็นเจ้าเดียวกับตัวแทนของโบอิ้งในไทยนั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,229 วันที่ 22 - 25 มกราคม 2560