'ทรัมป์' เปลี่ยนโลก แนะไทยผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองอเมริกา

19 ม.ค. 2560 | 02:00 น.
เอกชน-นักวิชาการ ฟันธง “ทรัมป์” จุดชนวนสงครามการค้า-การเงินโลกรอบใหม่ เล็งตอบโต้ 3 ชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก “จีนเยอรมนี ญี่ปุ่น” หลังทำขาดดุลอ่วม ไทยติดร่างแหกระทบส่งออก “พาณิชย์” สั่งทูตทำการบ้านหวั่นกระทบเป้าส่งออก

วันที่ 20 มกราคมนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา เขาจะมาพร้อมกับนโยบายด้านเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ภายใต้แนวคิด America First ที่ผู้คนมองว่าจะเป็นการกีดกันทางการค้าแบบสุดขั้ว ก่อกำแพงภาษีได้ถึง 45% สำหรับสินค้าจีน และดึงการลงทุนกลับไปสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ด้วยสิทธิประโยชน์จูงใจในรูปการลดหย่อนภาษี พร้อมกับคุกคามกลุ่มทุนที่เลือกผลิตนอกสหรัฐฯด้วยภาษีอัตราสูงเช่นกัน

วันที่ 20 มกราคมนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา เขาจะมาพร้อมกับนโยบายด้านเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ภายใต้แนวคิด America First ที่ผู้คนมองว่าจะเป็นการกีดกันทางการค้าแบบสุดขั้ว ก่อกำแพงภาษีได้ถึง 45% สำหรับสินค้าจีน และดึงการลงทุนกลับไปสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ด้วยสิทธิประโยชน์จูงใจในรูปการลดหย่อนภาษี พร้อมกับคุกคามกลุ่มทุนที่เลือกผลิตนอกสหรัฐฯด้วยภาษีอัตราสูงเช่นกัน

อีกทั้งดึงการลงทุนกลับไปสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ด้วยสิทธิประโยชน์จูงใจในรูปการลดหย่อน ภาษี พร้อมกับคุกคามกลุ่มทุนที่เลือกผลิตนอกสหรัฐฯด้วยภาษีอัตราสูงเช่นกัน

หลายสำนักวิจัยเชื่อว่าหากผู้นำใหม่สหรัฐฯนำนโยบายกีดกันการค้ามาใช้จริงตามที่ขู่ไว้จะนำไปสู่สงครามการค้าที่บั่นทอนจีดีพีสหรัฐฯเอง และอาจดึงเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอยท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางการค้าโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป

P1-3228-02 นายสมภพ มานะรังสรรค์อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายของทรัมป์ตามที่ได้ประกาศแผนงานจะเร่งดำเนินการในช่วง 100 วันแรกหลังรับตำแหน่งที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงประเทศไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะนโยบายด้านการคลังและการค้า เช่นการประกาศจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลของสหรัฐฯจาก 35% ลงเหลือ 15% ซึ่งจะเป็นแรงกดให้หลายประเทศต้องลดตาม เพื่อคงแรงจูงใจการลงทุนในประเทศของตน จะส่งผลให้หลายประเทศอาจเก็บภาษีได้ลดลง และอาจเกิดวิกฤติด้านการคลัง

ต่อมาคือการลดภาษีบุคคลธรรมดาจาก 39.6% ลงเหลือ 33%เพื่อเอาใจประชาชน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคภายในสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 76% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้กลับมาคึกคัก เศรษฐกิจสหรัฐฯจะร้อนแรง หุ้นก็จะขึ้น รวมถึงกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ได้ประกาศจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลายรอบในปีนี้ จะส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินโลก รวมถึงมีผลให้เงินทั่วโลกไหลเข้าสหรัฐฯ จากได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดี

“ช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมาดอกเบี้ยต่ำติดดิน ภาครัฐ ภาคเอกชนหลายประเทศก็กู้เงินจากต่างประเทศในอัตราดอกเบี้ยต่ำแต่ถึงเวลาเงินไหลออกไปสหรัฐฯจากดอกเบี้ยขึ้น หลายประเทศจะเกิดวิกฤติการเงินจากเป็นหนี้ระยะสั้นเพิ่ม และต้องหาเงินมาใช้หนี้ บางประเทศไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ อาจเกิดทฤษฎีโดมิโน สถาบันการเงินล้มอีกเหล่านี้คือตัวแปรที่ต้องระวังอย่างไรก็ดีอีกมุมหนึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะปรับตัวดีขึ้น คนกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อาจส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่ม แต่คำถามคือเรามีสินค้าที่ตรงกับความต้องการเขา

 รู้อนาฟต้Œากระทบไทย

ส่วนกรณีที่ทรัมป์ประกาศจะเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจีน 45%ซึ่งมีเหตุผลสำคัญจากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามูลค่ามหาศาล โดยในปีที่ผ่านมาคาดจะขาดดุลกว่า 7.5แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนนี้ขาดดุลการค้าให้จีนมากสุด คิดเป็นมูลค่ากว่าครึ่งหนึ่งที่สหรัฐฯขาดดุลการค้าให้กับทั่วโลก รองลงมาคือ ขาดดุลให้เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่ง 3 ประเทศนี้เป็นเป้าหมายใหญ่ที่สหรัฐฯ จะตอบโต้ทางการค้า โดยอ้างความชอบจากที่สหรัฐฯขาดดุลการค้ามาก ซึ่งผลกระทบหากจีนลดการส่งออกไปสหรัฐฯ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปของจีนจากไทยเพื่อไปผลิตส่งออกต่อก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มองว่าการที่สหรัฐฯจะรื้อข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟต้า) และจะเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกสมาชิกรายสำคัญของนาฟต้าที่35% ประเทศที่จะได้รับผลกระทบอันดับต้น ๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ที่ได้เข้าไปลงทุนในเม็กซิโกเป็นจำนวนมาก เพื่อผลิตสินค้าส่งเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯโดยได้รับการยกเว้นภาษีหรือเสียภาษีตํ่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยทางอ้อมเพราะส่วนหนึ่งประเทศเหล่านี้นำเข้าชิ้นส่วน/วัตถุดิบจากไทยไปผลิต

“การขึ้นภาษนเขาสินค้าของสหรัฐมีความเป็นไปได้สูง ขณะที่ในปีนี้ผลจากนโยบายทรัมป์คาดจะทำให้เงินทุนไหลเข้า-ออกแต่ละประเทศเร็วขึ้น ประเทศใดที่มีฐานการเงินไม่เข้มแข็งจะได้รับผลกระทบ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีทิศทางแข็งค่า ค่าเงินคู่ค้าสหรัฐฯจะอ่อนมีแนวโน้มจะเกิดสงครามการค้าและสงครามการเงินในปีนี้”

สรท.ชี้กระทบไทยแน่

ขณะที่นายนพพร เทพ-สิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ยังประเมินสถานการณ์ค่อนข้างยากว่าจะกระทบกับไทยอย่างไรบ้าง เดิมสรท.มองว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกไทยแต่ขณะนี้เริ่มไม่แน่ใจจากนโยบายที่มากขึ้นของทรัมป์ที่ออกมา ทั้งด้านภาษี ด้านการกีดกันทางการค้า โดยในปีนี้สรท.ประเมิน่าการส่งออกไทยน่าจะขยายตัวได้ 2-3% แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นไปได้ยากมากหากเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง

“หากรัฐบาลทรัมป์ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อปกป้องการค้าของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบกับการส่งออกไทยทางกลับกันหากเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการเติบโตดี กำลังซื้ออาจจะมีมากขึ้น และจะนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ส่งออกที่มีศักยภาพก็จะได้โอกาสตรงนี้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีในการผลิต”

 ส‹งออกเสี่ยงพลิกบวก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ในเบื้องต้นทางกระทรวงฯยังไม่มีการปรับแผนการส่งออกไปสหรัฐฯแต่ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ไทยในสหรัฐฯเตรียมข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบ หลังทรัมป์ประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการเพื่อเตรียมรับมือต่อไป

ขณะที่นางอภิรดี ตันตรา-ภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวไว้หลังทรัมป์ชนะการเลือกตั้งว่า ไทยคงต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่อาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น รวมถึงผลกระทบด้านต่างๆเช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะดีขึ้นหรือไม่ ราคานํ้ามันจะขึ้นตามที่คาดไว้ หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับดอกเบี้ยขึ้นตามที่คาดหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งความผันผวนเหล่านี้ จะส่งผลต่อการส่งออกและการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวน และราคาสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ปรับตัวสูงขึ้น โดยภาพรวมแล้วจะทำให้การส่งออกของไทยในปี 2560 มีความเสี่ยงและท้าทายมากขึ้นเพื่อที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 ปี

 ผนึกอาเซียนเจรจาสหรัฐฯ

ด้านนายสแตนลีย์ คังประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำไม่ได้มีเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ปีนี้ในยุโรปจะมีการเลือกตั้งในหลายประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้มีผู้นำคนใหม่และนโยบายใหม่เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น ไทยจำเป็นจะต้องรู้ว่าเทรนด์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร

ประธาน JFCCT กล่าวอีกว่า นโยบายของทรัมป์ที่ต้องการดึงการลงทุนกลับสหรัฐอเมริกาซึ่งที่ผ่านมามีการขู่หลายบริษัทผู้ผลิตไม่ให้เข้าไปลงทุนในเม็กซิโกไม่เช่นนั้นสินค้าที่นำกลับเข้ามาในสหรัฐฯจะเจอภาษีสูง แต่ถ้าเลือกตั้งโรงงานผลิตในสหรัฐฯก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็เข้าใจได้ว่าเป็นความต้องการที่จะสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ แต่ไม่น่าจะดึงการลงทุนของสหรัฐฯในไทยกลับออกไป แต่ไทยควรจับมือกับอาเซียน หากจะเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ

“ผมอยากจะเห็นการเจรจาข้อตกลงที่เป็นระดับภูมิภาคมากกว่าระดับทวิภาคี เพราะถ้าเราจะคุยกับสหรัฐฯ ขนาดเศรษฐกิจของเราค่อนข้างจะห่างกันเยอะ แต่ถ้าเราเอาอาเซียน 10 ประเทศไปเจรจากับเขา ผมคิดว่าเรามีโอกาสมากขึ้น ต้องคุยกันในอาเซียนก่อนมีจุดยืนร่วมกันแล้วทำการบ้านไปให้ดี ถ้าสหรัฐฯสนใจตลาดอาเซียนที่มี 600 กว่าล้านคน ไทยก็สามารถเป็นประตูหรือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้เขาเข้ามา”

 หวั่นกีดกันทำโลกถดถอย

วิลเล็ม บุยเทอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารซิติแบงก์ ให้ความเห็นว่า ถ้าหากทรัมป์ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในเชิงกีดกันการค้าอย่างที่เขาเคยกล่าวเอาไว้ ก็อาจนำไปสู่ภาวะสงครามการค้า และสิ่งที่ตามมาก็จะเป็นภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก สอดคล้องกับงานวิจัยของธนาคารดอยช์แบงก์ที่ว่า นโยบายการค้าของทรัมป์ก่อให้เกิดความเสี่ยงและปัจจัยลบต่อการค้าโลกสิ่งที่เป็นความเสี่ยงมากที่สุดคือมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้าและตอบโต้ทางการค้า ซึ่งจะมีผลฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

 หุ้นมีลุ้น 1,650-1,700 จุด

P2-3228-01 นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ทาลิสฯ เปิดเผยว่า หากทรัมป์พูดแล้วดูดี มีโอกาสที่เงินทุนจะไหลกลับไปสหรัฐ แต่หากความกังวลไม่เกิด จึงโอกาสน้อยที่เงินจะไหลออกจากตลาดหุ้นไทย และพื้นฐานของไทยดูดีกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นไทยไม่มากแล้ว และมีโอกาสที่ดัชนีแตะ 1,700จุด เนื่องจากไทยมีเสถียรภาพ

“ถึงแม้ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาพอสมควร ในปี 2559 ดัชนีหุ้นเพิ่มขึ้น 19%แต่ราคายังขึ้นน้อยกว่าการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่คาดว่าจะเติบโต 27-28% ส่วนในปี2560 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 8-10% รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว สนับสนุนตลาดหุ้นไทยยังน่าลงทุนสำหรับมุมมองของสถาบันทั้งไทยและต่างประเทศ”

นายวีระ วุฒิคงศิริกูล รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทยฯ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดยังมีทิศทางที่ดีจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลดีต่อหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมองเป้าหมายดัชนีหุ้นปีนี้อยู่ที่ 1,650 จุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,228 วันที่ 19 - 21 มกราคม 2560