4 ปัจจัยทุบหุ้น IFEC เละ ฟอร์ซเซล 'หมอวิชัย' ทวิชเปิดตัว7กรรมการ

19 ม.ค. 2560 | 00:00 น.
IFEC เจอตุลาทมิฬ หุ้นรูดมหาราช ซีมีโก้บังคับขายหุ้นหมอวิขัย คาดตลาด SP ยาว เจ้าหนี้-รายย่อย-สิทธิชัย บุก ก.ล.ต.พบ ”รพี” หวั่น ประขุมผู้ถือหุ้น 25 มกราคมนี้ไม่ได้

แหล่งข่าวจากวงการตลาดทุน เปิดเผยว่า หุ้น บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ถูกขายออกมาหนักอย่างต่อเนื่อง ฉุดให้ราคาหุ้นทรุดลงแรง โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม 2559 หลังจากมีข่าวเรื่องบริษัทผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี)หลายล็อต รวมถึงปัญหาความขัดแย้งของผู้บริห 2 คน ระหว่างนายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ และนายสิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ อดีตกรรมการ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ทำให้บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนเป็นหลักร้อยล้านบาทต่อไตรมาส

อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ราคาหุ้นรูดลงแรง คือ โบรกเกอร์มีการบังคับขายหรือฟอร์ซเซล หุ้น IFEC ในส่วนที่นาย วิชัยไปใช้สินเชื่อซื้อหุ้นหรือมาร์จิ้น ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง เริ่มเห็นขัดจนมาตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยเฉพาะวันที่ 11 มกราคม 2560 ที่ราคาหุ้นรูดลงถึง 11.93% หรือ 0.42 บาทมาปิดที่ 3.10 บาท ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะสั่งพักการซื้อขาย หุ้น เนื่องจากบริษัทผิดนัดหนี้บี/อี 200 ล้านบาท จึงต้องรอให้บริษัทขี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้

“โชคดีที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้น SP ห้ามซื้อขายหุ้น IFEC ก่อน เพราะวันรุ่งขึ้นยังมีหุ้นที่จะถูกฟอร์ซเซลอีกร่วม 10 ล้านหุ้น ซึ่งที่ผ่านมา คุณวิชัยถูกฟอร์ซเซลมาหลายครั้ง โดยบล.ซีมีโก้ เพราะไปใข้มาร์จิ้นซื้อหุ้น IFEC เก็บมาหลายราคา ตอนทีลราคาขึ้นไปถึง 18 บาทต่อหุ้น ก็ยังเข้าไปซื้อหุ้นเก็บไว้ เพราะทั้งนายวิชัยและนายสิทธิขัย กลัวบริษัทจะถูกเทกโอเวอร์ ต้อองเข้าไปเก็บหุ้นให้อยู่ในมือมากที่สุด นายวิชัยถูกฟอร์ซเซล ส่วนนายสิทธิชัยได้ขายหุ้นเพื่อเอาไปค้ำให้คุณวิชัย ทำให้ต้องขายออกในราคาต่ำกว่าต้นทุน ขนาด 3 บาทยังต้องขายออกมาเลย “แหล่งข่าวกล่าว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้น IFEC ร่วงลงมานาน เกิดจากนักลงทุนผิดหวังเรื่อง นายวิชัย ที่ประกาศแผนธุรกิจชัดเจนและบ่อยครั้งว่าจะเป็นผู้นำในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ตั้งเป้าหมายที่จะขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์(COD) ถึง 1,000 เมกะวัตต์ โดยการซื้อหุ้นของบริษัทในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมประมาณ 22 ประเทศ แต่เวลาที่ผ่านมาหลายปีกลับทำไม่ได้ตามที่ประกาศไว้ จนในที่สุด ต้องซื้อกิจการของบริษัทโรงแรมดาราเทวี ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ IFEC สามารถรับรู้กำไรพิเศษก้อนใหญ่จากการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการขายหรือพัฒนาทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างกำไรจำนวนมาก

“IFEC มีการระดมทุน ขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(พีพี) มาประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่ไม่สามารถซื้อโครงการโซลาร์เข้ามาเลยในปีแรก ผ่านมาถึงปีที่ 2 มีเพียงโครงการปากพนัง แค่ 10 เมกะวัตต์ โครงการที่บึงกาฬอีก 0.998 เมกะวัตต์ จนต้องตัดสินใจซื้อโครงการออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีผลตอบแทนต่ำก็ตาม รวมแล้วได้เพียง 200 เมกะวัตต์ แม้ว่าจะซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น ประมาณ 30-40 เมกะวัตต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศไทย จะให้สินเขื่อ แต่เมื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้วสองคนทะเลาะกัน ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนแล้ว ”แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวจากบริษัทกล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2560 เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นรายย่อย และ นายสิทธิชัย อดีตกรรมการและผู้บริหาร IFEC ได้เข้าพบผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต. )โดยนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. มารับฟังข้อมูลเอง เนื่องจากเป็นห่วงและให้ความสำคัญกับกรณี IFEC ไม่สามารถชำระหนี้ตั๋วบี/อี ว่าจะมีทางแก้ปัญหาหนี้อย่างไร

ขณะเดียวกัน นายทวิช เตชะนาวากุล เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหญ่ของ IFEC แสดงความเป็นห่วงว่า บริษัทจะสามารถจัดการประขุมผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ในวันที่ 25 มกราคม นี้ ซึ่งบริษัทต้องจัดการประขุมให้ได้ เพื่อ ต้องการเรียกความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น รวมถึง ต้องการเห็นแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดจน และจะต้องมีการตั้งกรรมการตรวจสอบ นายวิขัยและนายสิทธิชัย เนื่องจากภายใน 2 เดือนนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป)หุ้น IFEC หายไป 6,000 ล้านบาท ปัจจุบันเจ้าหนี้ ไม่มีความไว้วางใจ ในตัวนายวิชัย เนื่องจากไม่มีธรรมาภิบาล แต่ยังมีความในตัวบริษัท

“นายทวิช เตรียมจะเปิดตัวกรรมการใหม่ 7 คน ซึงเป็นผู้ใหญ่ และได้รับการยอมรับในสังคม เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของ IFEC กลับมา บริษัทมีทรัพย์สิน 1.5 หมื่นล้านบาท มากกว่าหนี้ สิน ระยะสั้น 6,000 ล้านบาท และเงินกู้ทั่วไป 2,000 ล้านบาท” แหล่งข่าวกล่าว

ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โซราลิส จำกัด แจ้งว่า บริษัทยังคงติดตามหนี้ตั๋ว บี/อี IFEC ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ภายในเดือนมกราคม นี้ คือวันที่ 19 มกราคมวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และตั๋ววันที่ 25 มกราคม อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีหนี้บีอีกับ FEC รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,200 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,228 วันที่ 19 - 21 มกราคม 2560