‘ทิสโก้’เจาะเงินฝากวัยเกษียน ชูกลยุทธ์ขายข้ามผลิตภัณฑ์ต่อยอดพอร์ตรายย่อยสแตนชาร์ต

17 ม.ค. 2560 | 11:00 น.
“ทิสโก้”เตรียมออกโปรดักต์เงินออมเกษียนอายุไตรมาสแรก พร้อมใช้กลยุทธ์ขายข้ามผลิตภัณฑ์ต่อยอดพอร์ตสินเชื่อรายย่อยสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ชูนโยบายสาขา-บริษัทในเครือไฮย์ ภายใต้แบรนด์ “สมหวัง”พร้อมรองรับฐานลูกค้าทุกระดับ

นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจปี2560 ยังยึดแนทางการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าปีนี้พอร์ตเช่าซื้อน่าจะทรงตัวไม่ติดลบเช่นปีที่ผ่านมา แต่โครงการขนาดใหญ่เอกชนยังค่อนข้างเงียบเช่นเดิม

สิ้นเดือนธันวาคม2559 ยอดสินเชื่ออยู่ทิสโก้อยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาทติดลบ 5.6% จากปี 2558 เงินฝาก 2.25 แสนล้านบาท ลดลง 3.2% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2.54% สัดส่วนการกันสำรองหนี้ 139% มีกำไรสุทธิ 5,005 ล้านยาท เพิ่มขึ้น 17% มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,948 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 5,932 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6%

“ปีนี้พอร์ตรวมของทิสโก้คงทรงตัวแต่จะมีส่วนเพิ่มขึ้นจากการซื้อพอร์ตสินเชื่อรายย่อยจากธนาคารสแตนด์ดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย(SCBT)ทั้งสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเคหะ ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งที่สามารถเสนอบริการต่อยอดตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ และเงินฝากบุคคล โดยจะเห็นกิจกรรมต่อยอดครึ่งหลังของปีนี้”

เมื่อปลายปี 2559 ทิสโก้บรรลุข้อตกลงในการซื้อธุรกิจรายย่อยของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย จำนวนสินทรัพย์ 4.16 หมื่นล้านบาท เงินฝาก 3.6 หมื่นล้านบาท ใช้เงินสุทธิในการซื้อ 5,500 ล้านบาท

การซื้อพอร์ตรายย่อยครั้งนี้ ทำให้ทิสโก้ ขยายฐานลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้น4 แสนราย แบ่งเป็นสินเชื่อรายย่อย 3 แสนราย สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล แบงก์แอสชัวรัน เงินฝากรายย่อยและธนบดีธนกิจอีก 1 แสนราย ส่วนสินเชื่อคาดว่าจะโต 15%

นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า กลยุทธ์ของทิสโก้ปีนี้ ยังมุ่งเน้นในธุรกิจหลักๆ คือสินเชื่อเช่าซื้อซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาด 55-60% สินเชื่อเพื่อการบริโภค 10% ส่วนอีก 30% เป็นสินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ซึ่งปีนี้มีข่าวดีเป็นปีแรก หลังยอดขายรถยนต์หดตัวมา 5ปีต่อเนื่อง ดังนั้นพันธมิตร2ค่ายคือ ฟอร์ดและมาสด้ายังเน้นการเติบโตต่อเนื่องจาก 8ปีก่อนเพิ่มส่วนแบ่งได้เกิน 5%

ขณะที่โอกาสทางธุรกิจจากการรับโอนSCBT นั้นโดยรวมจะเป็นการต่อยอดทางธุรกิจและการขายข้ามผลิตภัณฑ์(Cross Sells) สินเชื่อเคหะที่มียอด 2.6 หมื่นล้านบาท สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตเหล่านี้จะเป็นส่วนเพิ่มที่สร้างการเติบโตให้กลุ่มทิสโก้

รวมทั้งขยายฐานเงินฝากลูกค้าขนาดกลาง(ขนาดวงเงินฝาก 10ล้านบาท) จากที่ผ่านมาSCBTมีสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน(CASA) 70% รวมทั้งขยายฐานเงินฝากในกลุ่มเอสเอ็มอีและมุ่งเน้นรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งจากธุรกิจนายหน้าประกันภัย

ส่วนการขายประกันผ่านสาขาธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) นั้น ทิสโก้คาดหวังการเติบโตเบี้ยประกันรับรวมจะเติบโตมากกว่าสินเชื่อ จากยอดเบี้ยรับรวมปัจจุบันอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นเบี้ยรับวินาศภัย 2,500 ล้านบาท ที่เหลือเป็นประกันชีวิตและสุขภาพ

ฐานลูกค้าที่มีอยู่จะเอื้อในการต่อยอดธุรกิจ เช่น ไตรมาสแรกปีนี้จะออกโปรดักต์เงินออมเกษียณอายุขณะเดียวกันลูกค้าบางส่วนยังมีบริษัทประกันพันธมิตร (Open Architecture) ซึ่งกำหนดทยอยเซ็นสัญญาต่อเนื่องกับ 10 บลจ.เดิมที่ให้บริการอยู่กับ SCBT

ด้านนโยบายสาขานั้น นอกจากสาขาธนาคารทิสโก้ที่ยังคงไว้ แต่จะขยายเพิ่มอีก 50สาขาเป็น 200สาขาในส่วนของบริษัทไฮเวย์ จำกัดซึ่งเป็นธุรกิจในเครือภายใต้แบรนด์ “สมหวังเงินสั่งได้” รวมทั้งสาขาที่รับโอนมาจาก SCBT อีก 6 แห่ง ซึ่งเป็นการขยายสาขาเพื่อให้บริการครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสมหวังเงินสั่งได้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ปัจจุบันสมหวังมีพอร์ตสินเชื่อรวม 8,000 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,227 วันที่  15 - 18  มกราคม 2560