ทุนนอกขย่ม‘ธุรกิจสิบล้อ’ใต้ รุกเปิดสาขาชุมชน-นายกฯขนส่งวอนรัฐเยียวยานำท่วม

17 ม.ค. 2560 | 08:00 น.
รถบรรทุกภาคใต้ดิ้นหนีผลกระทบอุทกภัย จับตาทุนโลจิสติกส์ต่างประเทศรุกหนกั ในเมืองไทย ล่าสุดปรบั การขนสง่ สินคา้ มาเป็นขนส่งสิง่ ของบริจาคแทน ด้านกรณีความเสียหายคิดเป็นเงินมหาศาลแน่แต่ยังไม่ได้ประเมิน วอนรัฐเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการตามมาตรการด้านภาษี

นางรุ่งรัตน์ ชัยจิระธิกุล นายกสมาคมโลจิสติกส์และขนส่งภาคใต้ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากผลกระทบอุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคใต้ทางสมาคมได้ร่วมให้ความช่วยเหลือในการขนส่งประชาชนเดินทางและขนส่งสินค้าสิ่งของบริจาคให้กับหน่วยทหารในแต่ละพื้นที่เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนเนื่องจากการประกอบการขนส่งในช่วงเกิดอุทกภัยถูกตัดขาดเส้นทางคมนาคมจึงต้องหยุดประกอบการชั่วขณะ

โดยได้รับผลกระทบบ้างในบางเส้นทาง แต่ได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางในบางช่วงเพื่อเลี่ยงจุดเกิดเหตุให้สามารถขนส่งสินค้าถึงที่หมายให้ได้มากที่สุด แม้จะล่าช้าไปบ้างแต่ทุกฝ่ายก็เข้าใจสถานการณ์ และขณะนี้ในเส้นทางจะมีรถทหารมาช่วยในการขนส่งต่อเข้าไปถึงชุมชน

“จะเน้นการประสานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ให้รวดเร็ว โดยเบื้องต้นนำรถบางส่วนจากที่มีอยู่กว่า 3,000 คันที่ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งในเส้นทางภาคใต้ไปให้ความช่วยเหลือประชาชนแล้วด้วยการช่วยภาครัฐขนส่งสิ่งของบริจาคแทน”

สำหรับกรณีความเห็นรถบรรทุกน้ำหนักเกินนั้นสมาชิกของสมาคมมีความเห็นร่วมกันมานานกว่า 10 ปีแล้วว่าจะไม่มีการแบกน้ำหนักบรรทุกเนื่องจากจะต้องบรรทุกให้สอดคล้องกับการขนส่งสินค้าในการส่งต่อไปทางเรือให้ได้มาตรฐานตามที่เรือกำหนดไว้

“ภาคใต้ไม่กระทบเรื่องนี้ เน้นการส่งออกให้ได้มาตรฐานน้ำหนัก ให้ค่าตาชั่งต้องตรงตามที่การขนส่งลงไปทางเรือระบุเอาไว้ ดังนั้นจึงดำเนินการและถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันมาโดยตลอด”

นายกสมาคมโลจิสติกส์และขนส่งภาคใต้กล่าวว่าสภาวะปัจจุบันตัวเลขปริมาณการขนส่งปรับลดลงบ้าง แต่จำนวนรอบของการขนส่งกลับเพิ่มความถี่มากขึ้น ดังนั้นกรณีที่ไม่ต้องแบกน้ำหนักจึงพบว่ามีการทำรอบการขนส่งเพิ่มมากขึ้นแทน
“ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการขนส่งสินค้าจะลดลงเนื่องจากปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจของโลก ฝนตกหนักตัดยางไม่ได้ จึงไม่มีสินค้าป้อนเข้าตลาดการขนส่งทำให้การวางแผนทำงานต้องปรับลดลงส่งออกไม่ได้ตามแผน”

อยากให้ภาครัฐเร่งผลักดันเรื่องน้ำหนักสินค้าให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใต้มาตรฐาน แต่ผลกระทบจากปริมาณสินค้าลดน้อยลงรัฐบาลน่าจะหาแนวทางเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้ โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษีโดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ประการสำคัญการขนส่งสินค้าทางถนนยังมีมากและต้นสูงกว่าจึงต้องเร่งหาแนวทางให้ปรับลดต้นทุนการขนส่งทางถนนลดลงให้มากที่สุด

ปัจจุบันนอกเหนือจากคู่แข่งขันทางธุรกิจในประเทศ ยังต้องปรับตัวรองรับทุนต่างประเทศที่แห่เข้ามาประกอบธุรกิจในเมืองไทยมากขึ้น จากกรณีที่พบว่ามีการขยายสาขาย่อยเข้าถึงชุมชนมากขึ้นในปัจจุบันนี้อีกทั้งยังรวดเร็วที่สามารถสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าอย่างมาก “ปีนี้และปีหน้าคาดว่าผลกระทบจากอุทกภัยจะส่งผลไปหลายด้าน ซึ่งพบเทรดดิ้งจะลงทุนรถขนส่งเองมากขึ้น ดังนั้นแนวทางการตัดราคาขนส่งสินค้าจึงจะมีมากขึ้นแน่ๆดังนั้นจึงจะนำเข้าสู่ระบบสหกรณ์การขนส่งสินค้าให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น หากไม่สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มธุรกิจได้ก็จะอยู่ไม่ได้ล้มตายกันไปทั้งหมดแน่ๆเรียกว่าอาจถึงขั้นล้มตายกันทั้งระบบนั่นเอง”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,227 วันที่ 15 - 18 มกราคม 2560