"โครงการรวมพลังเพื่อเด็กสุขภาพดี" จุดประกายเยาวชนสู่พฤติกรรมสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

14 ม.ค. 2560 | 07:00 น.
“โครงการรวมพลังเพื่อเด็กสุขภาพดี” (United for Healthier Kids) เผยผลเบื้องต้นการดำเนินโครงการในช่วงเดือนมิถุนายน -กันยายน 2559 ที่งานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่10 พบว่าแนวโน้มที่ดีในการปรับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพในเด็กวัย 3-5 ปีที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งทำให้ผู้ปกครองตระหนักและลงมือจัดมื้ออาหารที่สมดุลให้เด็กๆ มากขึ้น โดยทางโครงการฯ ประกาศความมุ่งมั่นที่จะนำผลการวิจัยนี้ ไปใช้พัฒนาโครงการและขยายผล เพื่อสร้างอนาคตของชาติให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

คุณกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ขยายความและกล่าวถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า โครงการรวมพลังเพื่อเด็กสุขภาพดีเป็นโครงการที่มุ่งจุดประกายให้ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กร่วมกันปลูกฝัง3 สุขนิสัยพื้นฐานสำคัญในเด็กวัย 3-5 ปี อันประกอบไปด้วย 1.การกินอาหารให้หลากหลาย เพิ่มผักและผลไม้ 2.เลือกดื่มน้ำเปล่า และ 3.ขยันขยับ เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นเพื่อปลูกฝังรากฐานพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนให้เติบโตอย่างมีสุขภาพดีในระยะยาว

MP-30-3227-c ซึ่งทางเนสท์เล่ และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มรักลูก (บริษัทอาร์แอลจีฯ) และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและพฤติกรรมเด็กชั้นนำของไทย ได้ร่วมกันคิดค้นเครื่องมือสร้างสรรค์ "มื้ออาหารของฮีโร่" (Hero Meal) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สนุก ดึงดูดให้เด็กๆ อยากใช้ อยากร่วมมือ เพื่อกระตุ้นการปรับเปลี่ยน3 สุขนิสัย

น.พ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ให้ความเห็นว่า “ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเด็กและผู้ปกครอง มี 5 ประการ ได้แก่ 1) การใช้ช่องทางหรือผู้สื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กของโครงการ ที่มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเป็นผู้สร้างสรรค์ "ข้อมูลฮีโร่" ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจสำหรับผู้ปกครองและครู 2.การมีพันธะสัญญาหรือเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะส่งเสริมสุขภาพของเด็ก 3.การจัดสถานการณ์หรือปัจจัยที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมได้อย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อ เช่น "ถาดฮีโร่" และ "แก้วน้ำฮีโร่" และมีการทำพฤติกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งที่บ้านและโรงเรียน 4.การมีสิ่งแวดล้อมหรือคนรอบข้างที่ปฏิบัติในแนวทางที่ส่งเสริมสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ เช่น การที่คุณครูหรือผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็ก และ 5.การสร้างแรงจูงใจหรือรางวัล เช่น การจัดทำ "สมุดสติกเกอร์สุดยอดฮีโร่" เพื่อให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่พึงประสงค์

MP-30-3227-b คุณสุวิมล ทรัพย์วโรบล หัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากดำเนินโครงการฯ ในช่วงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 นี้ พบว่าเด็กๆ รับประทานข้าว-แป้ง ผัก และผลไม้ได้มากขึ้น คือโดยเฉลี่ยจากที่กินข้าว-แป้ง เพียง62% เพิ่มเป็น 68%ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อมื้อ กินผักเพิ่มจาก15% เป็น 26% และผลไม้เพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 26% ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อมื้อ โดยเลือกรับประทานผลไม้ที่มีความหวานต่ำมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมานี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กๆ เพราะเด็กรับประทานอาหารครบหมู่ได้ในปริมาณที่เหมาะสมขึ้น

ทั้งนี้ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ “รวมพลังเพื่อเด็กสุขภาพดี” (United for Healthier Kids) ได้ทาง Facebook.com/U4HKThailandหรือค้นหา United for Healthier Kids TH ผ่าน Facebook Application“เพราะการเลี้ยงเด็กเป็นภารกิจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง การได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของเด็ก และความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นับได้ว่าเป็นความภูมิใจและความสำเร็จที่แท้จริงในการยกระดับเด็กไทยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น”โครงการรวมพลังเพื่อเด็กสุขภาพดี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,227 วันที่ 15 - 18 มกราคม 2560