นายกฯวัฒนธรรมไทย-เมียนมา ติดปีกSMEsปักธงเออีซี

14 ธ.ค. 2559 | 09:00 น.
เสียงเอกฉันท์โหวดให้ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ นั่งเก้าอี้นายกสมาคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจไทย-เมียนมาคนใหม่สดๆร้อนๆแทนพล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เมื่อ 7พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมาล่าสุด"ฐานเศรษฐกิจ"สัมภาษณ์พิเศษ"ถึงบทบาทของสมาคมนี้ว่าจะช่วยเหลือภาคเอกชนไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไรบ้าง

 บทบาทสมาคมไทย-เมียนมา

พล.อ. วิชิต อธิบายว่าบทบาทหลักของสมาคมฯเน้นส่งเสริม การค้าชายแดน การค้าการลงทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ต้องการไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากปัจจุบันเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี โดยสมาคมจะเป็นตัวกลาง พากลุ่มนักลงทุนดังกล่าวไปลงทุนในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดหาพันธมิตร จาก สมาคมฝั่งประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเมียนมา หรือ หากนักลงทุนไทยต้องการแรงงานก็สามารถประสานได้ ขณะเดียวกัน สมาคมยัง เชื่อมสัมพันธ์รอบด้าน ไม่ว่าการทหาร การเมือง ความล่าช้าขั้นตอนกฎระเบียบ แม้แต่สงครามที่ปกติมักมองไม่เห็นปัญหาแต่สมาคมสามารถช่วยได้ด้วยการเจรจาโดยอาศัยสัมพันธ์ที่มีมากว่า 15 ปี ช่วยรัฐและเอกชนได้ ซึ่งขณะนี้ รัฐเองอย่างกระทรวงการคลังได้ดึงนักลงทุนเมียนมาเข้ามาลงทุนในตลาดทุนบ้านเรา

นอกจากจะเป็นนายกสมาคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจไทย-เมียนมาแล้ว พล.อ.วิชิตเล่าว่า ปัจจุบันยังเป็นนายกสมาคม มิตรภาพไทย-กัมพูชา ที่กระทรวงการต่างประเทศตั้งขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้ง สมาคมมิตรภาพไทย-จีน อย่างไรก็ดีทุกสมาคมจะมีแนวทางไม่ต่างกันคือ มุ่งดึงเอกชนไปลงทุนยังเพื่อนบ้านอีกทั้งการค้าชายแดนมีมูลค่ามหาศาล สร้างรายได้เข้าประเทศ เมียนมามาเป็นอันดับ2รองจากมาเลเซีย มีมูลกว่าต่อปีกว่าแสนล้านบาทซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนดเป้า

ดันเอสเอ็มอีลงทุน

สำหรับแผนช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีล่าสุด สมาคม เตรียมเช็นเอ็มโอยู กับ ธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออก หรือ เอ็กซ์ซิมแบงก์และธนาคารเอสเอ็มอีแบงก์ ให้นักลงทุนที่สนใจข้ามไปลงทุนฝั่งกัมพูชา สามารถกู้สินเชื่อได้แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีประสบการ มีแผนลงทุนและ คืนกำไรภายในกี่ปี และรวมทั้งเมียนมาอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเข้าถึงแหล่งสินเชื่อและผ่านการกลั่นกรองเสมือนเป็นทางลัด ซึ่งโครงการไปลงทุนและ เมียนมาและกัมพูชาต้องการ ได้แก่ โรงงานปุ๋ยธรรมชาติ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค ร้านอาหารดูได้จากการข้ามมาซื้อสินค้าไทยจำนวนมากอาทิแม่สอดที่ เมียนมาเข้ามาซื้อของที่ ศูนย์การค้า สปป.ลาว ซื้อที่เซ็นทรัลจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

  ขยายสาขาเจาะเออีซี

สำหรับแผนที่จะให้เอกชนทั่วประเทศเข้าถึงจะใช้วิธีกระจายสาขาสมาคมไปแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายช่วยเหลือเอกชน จาก เดิมมีเพียง 6สาขา ปัจจุบันขยายให้ครบ16 สาขามีเป้าหมายบุกเออีซี โดย ปี2560 จะขยายไปที่จังหวัดมุกดาหาร นครพนม เชียงใหม่ที่ด่านอรุโณทัย กิ่วผาวอก นครราชสีมา ราชบุรี บ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนุบร อย่างไรก็ดี ปัจจุบันที่บูมมาก จะเป็นสาขาเชียงราย ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมพาผู้ประกอบการนำสินค้าไปขายตองยี รัฐฉานเมียนมา และปี 2560 จะเดินทางไปอีกครั้งเพราะที่นั่นต้องการสินค้าไทยค่อนข้างสูง

 "สมคิด"ฟื้นสมาคมแฝด

ขณะเดียวกัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้รื้อฟื้นสมาคมแฝด ระหว่างไทยกับเมียนมา โดยให้ความสำคัญกับการค้าข้ามแดนและค้าชายแดนโดยเฉพาะการผลักดันเอกชนไทยข้ามไปลงทุนฝั่งเมียนมา โดยมอบให้ แนวชายแดนจะต้อง สร้างความสัมพันธ์และจับมือกันลงทุนทางธุรกิจ ล่าสุด สมาคมฯได้เจรจากับ นายขิ่นฉ่วย นายกสมาคม เมียนมา-ไทย ซึ่งเป็นนักธุรกิจ ใหญ่ เซ็นเอ็มโอยูร่วมกันช่วยเหลือเอ็สเอ็มอีไทย โดยใช้วิธี เจรจามากกว่าใช้ขั้นตอนกฎหมาย อย่างไรก็ดี กลุ่มซีแอลเอ็มวีไม่จะเป็นลาว เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม กลุ่มประเทศเหล่านี้ ต้องการให้ ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ขณะที่ อสังหาริมทรัพย์เมียนมาให้ความสนใจที่จะให้ไทยเข้าไปลงทุนเช่นกัน เพราะเริ่มมีรายได้มากขึ้น จากอยู่ห้องแถวก็ขยับเป็นคอนโดมิเนียมและบ้านแต่ปัญหาใหญ่คือราคาทีดิ่นแพงเกินจริง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,217 วันที่ 11 - 14 ธันวาคม 2559