ดุจเดือน ศศะนาวิน : ยกระดับมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารสู่ความยั่งยืน

12 ธ.ค. 2559 | 01:00 น.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระองค์ทรงเป็นต้นแบบในทุกมิติของการพัฒนาภาคการเกษตรให้เกิดความยั่งยืน

“โลกใบนี้ ไม่ได้มีเพียงด้านเดียว ไม่ได้มีเพียงมุมเดียว และไม่ได้มีแค่ 2 สี ขาวกับดำ แต่ยังมีสีเทาอ่อนเทาเข้ม สีดำสลับขาว เช่นเดียวกันกับสินค้าเกษตร ไม่ได้มีเพียง สินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าเกษตรเคมีเท่านั้นแต่ยังมีสินค้าเกษตรใช้สารเคมีแต่ปลอดภัย สินค้าเกษตรธรรมชาติ หรืออื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นเพื่อให้เราเรียนรู้ในทุกจุดจนเกิดความเข้าใจ ก่อเกิดเป็นแนวทางในการเผชิญปัญหาใหม่ๆ สั่งสมประสบการณ์และยกระดับมาตรฐานทางความคิดเพื่อนำไปปรับใช้ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ”แนวความคิดที่เป็นดั่งเข็มทิศในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จากเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ “คุณดุจเดือน ศศะนาวิน”

คุณดุจเดือน ศศะนาวิน ฉายภาพประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาและเส้นทางอันเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยว่า หลังจากจบการศึกษาที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มเข้าทำงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับผิดชอบงานด้านนโยบายและวางแผน ซึมซับและเรียนรู้กับงานด้านการเกษตรในหลากหลายมิติ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำงานเจรจาและติตต่อกับต่างประเทศ เรียนรู้ความเคลื่อนไหวของสังคมโลก จัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ อาทิ โครงการปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร การจัดตั้งกองทุนวิจัยการเกษตรจนกระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักถึงความสำคัญและเล็งเห็นถึงโอกาสในการแข่งขันทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในเวทสี ากล พรอ้ มดว้ ยมาตรฐานและความปลอดภยั จงึ ไดจ้ ดั ตงั้ สาํ นกั งานมาตรฐานสนิ คา้ เกษตรและอาหารแหง่ ชาติ (มกอช.)ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร

“เราตามรอยพ่อ” เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เล่าต่อว่า ตลอดระยะเวลากว่า 14 ปีของการดำเนินงานที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารและบุคลากร น้อมนำแนวพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการทำงานที่ยึดเอา “ความเพียร” เป็นที่ตั้ง พระองค์ทรงเป็นต้นแบบและให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรของประเทศไทยในทุกด้าน ทรงคิดค้น วิจัย และพระราชทานแนวทางการจัดการที่ดินและนํ้าเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนหรือทฤษฎีใหม่ รวมทั้งแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะต่อยอดไปสู่มาตรฐานทางการเกษตรและอาหารที่สำคัญซึ่งการอุทิศตนในการทำงานเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้กับประเทศนั้นไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริงคือความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคนที่ได้ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

ปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติดำเนินงานหลักในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้สอดคล้องกับหลักสากล การจัดทำต้นแบบด้านมาตรฐานหรือโมเดล หลักสูตรต่างๆ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

[caption id="attachment_118951" align="aligncenter" width="503"] ดุจเดือน ศศะนาวิน ดุจเดือน ศศะนาวิน[/caption]

พร้อมทั้งรับรองระบบงานผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน กำหนดท่าทีของประเทศและเจรจาด้านการมาตรฐาน และเรื่องสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรการไม่ใช่ภาษีอื่นๆ สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารทั้งระดับทวิภาคี ภูมิภาค พหุภาคี และองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้งผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างเช่นล่าสุด ที่ มกอช.ได้สร้างความร่วมมือกับทาง สปป.ลาว ในการเข้าไปพัฒนาและเสริมองค์ความรู้ด้านถั่วลิสง เช่นเดียวกันกับประเทศกัมพูชาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาลงนาม MOU เพื่อให้ มกอช.เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรับรองระบบของกัมพูชาด้านสินค้าเกษตรและอาหาร

อย่างไรก็ดีเราพร้อมเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ในด้านการเตือนภัยด้วยการจัดทำ “ระบบเตือนภัยล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ACFS Early Warning” ที่ มกอช.จะรวบรวมความเคลื่อนไหวของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในเวทีสากล และกฎระเบียบใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มบุคคลทั่วไป อาทิ เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้รับทราบให้เท่าทันต่อเหตุการณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ และในปีหน้าเราพร้อมพัฒนาและจัดทำเป็นแอพพลิเคชันเพื่อใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้รวดเร็วและทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรในอนาคต ซึ่งทางสำนักงานฯมองว่าการนำนวัตกรรมเข้าไปสู่การรับรู้ของภาคการเกษตรเป็นการยกระดับการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น เป็นการกระจายองค์ความรู้และวางรากแก้วในการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี โดยมีนัยสำคัญสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 อย่างบูรณาการ

นอกจากน้ัน มกอช.ยังสนับสนันการส่งเสริมเผยแพร่ศึกษา วิจัยและพัฒนาการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารรูปแบบใหม่ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาทิล่าสุด ทาง มกอช. ได้เตรียมยกระดับการผลิตฟาร์มจิ้งหรีดในประเทศไทยที่เป็นสินค้าใหม่ กำลังได้รับความนิยมกับกลุ่มเกษตรกรชาวไทย โดยยกร่างมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือย่างก้าวที่สำคัญทั้งในแง่ของการดำเนินงานและแผนการพัฒนาของ มกอช.ในการ “เป็นองค์กรนำด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารสู่ระดับสากล”

“งานของ มกอช.นั้น คือความท้าทาย เพราะมาตรฐานของโลกเกิดการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เปรียบได้ว่ามาตรฐานเป็นดั่ง “Never Ending Story” ที่เราต้องพร้อมเรียนรู้อยู่ในทุกลมหายใจ ทำหน่วยงานให้เกิดความคล่องตัวผสมผสานกับการทำงานเชิงรุกในการเผชิญกับปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล ใช้คุณธรรมและจริยธรรมเป็นพลังทางความคิดที่สำคัญในการก้าวเดิน พร้อมทั้งน้อมนำและรำลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ”

ในปีนี้เป็นปีแห่งการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ สิ่งที่เราจะทำให้พระองค์ท่านได้ดีที่สุดคือ ทำดีเพื่อพ่อ เพราะถ้าพระองค์เห็นทุกๆ คน รักเกษตรกร รักประเทศไทย เหมือนพระองค์และพร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้วงการสินค้าเกษตรและอาหารไทยก้าวหน้าอย่างมีมาตรฐาน นั้นคือสิ่งที่พระองค์ท่านมีความสุขที่สุด นี่คือหนึ่งพลังและก้าวที่สำคัญของการร่วมกันทำดีเพื่อพ่อต่อไป “คุณดุจเดือน ศศะนาวิน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,217 วันที่ 11 - 14 ธันวาคม 2559