สำรวจพื้นที่ตามรอยเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ตอนจบ)

13 พ.ย. 2559 | 06:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

คณะผู้สื่อข่าวอาเซียนและผู้บริหารศูนย์อาเซียน-จีน ออกเดินทางจากสนานบินหนานจิงในมณฑลเจียงซูมายังเมืองคุนหมิง นครหลวงของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ขยับเข้ามาใกล้กับประเทศไทย และจากการที่จีนเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในด้านการผลิตรถไฟความเร็วสูง ทำให้มีการเร่งผลักดันเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ และนับเป็นอาวุธสำคัญสำหรับการดำเนินยุทธศาสตร์ของจีน ดังเห็นได้จากเส้นทางสายไหมใหม่ สายแพนเอเชียหรือโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิงที่เชื่อมโยงการขนส่งภายในอาเซียน โดยเริ่มจากคุณหมิงของจีน ผ่านเวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย จนถึงสิงคโปร์

นางหยาง สิ่วผิง เลขาธิการศูนย์อาเซียน-จีน (เออีซี) หรือ ASEAN –China Center กล่าวถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีนที่เชื่อมโยงต่อระหว่างประเทศจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า รถไฟความเร็วสูงจีนและไทย ก่อสร้างครั้งแรกได้เพียง 250 กิโลเมตรเท่านั้น แต่คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงนี้จะขยายอีกหลายหมื่นกิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงประเทศจีนจนถึงสิงคโปร์ ซึ่งถ้าเส้นทางสายนี้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์จะกลายเป็นเส้นทางสายไหมไทยที่มีศักยภาพ

[caption id="attachment_112786" align="aligncenter" width="503"] ประตูชายแดนจีน-เมียนมา ประตูชายแดนจีน-เมียนมา[/caption]

“แผนการริเริ่ม One Belt and One Roadหรือเส้นทางเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ยั่งยืนและเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสำคัญกับประเทศจีนอย่างมาก ในปี 2558 มูลค่าการค้ารวมระหว่างอาเซียน-จีนอยู่ในระดับสูงถึง 4.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การลงทุนระหว่างกันสูงถึง 1.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ”

[caption id="attachment_112785" align="aligncenter" width="503"] สื่อมวลชนร่วมสัมภาษณ์หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของรุ่ยลี่ สื่อมวลชนร่วมสัมภาษณ์หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของรุ่ยลี่[/caption]

  ยูนนาน ประตูการค้าตะวันตกเฉียงใต้

มณฑลยูนนานได้พัฒนากลายเป็นประตูเชื่อมจีนกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากเส้นทางถนนที่เชื่อมไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ เส้นทางจากนครคุนหมิงไปยังกรุงย่างกุ้งของเมียนมา เส้นทางจากนครคุนหมิง-ไทยโดยเริ่มต้นจากนครคุนหมิง ตัดผ่านเขตสิบสองปันนา เข้าสู่ประเทศลาว ต่อไปยังภาคเหนือของประเทศไทย และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ และเส้นทางจากนครคุนหมิง-ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม นอกจากนี้ มณฑลยูนนานได้มีอาณาเขตติดต่อกับทิศเหนือของมณฑลเสฉวน ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกุ้ยโจวและกว่างซี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต ขณะที่เมืองฉู่จิ้งซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของมณฑลยูนนานนั้นยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางดั้งเดิมของเส้นทางสายไหมในอดีต ซึ่งปัจจุบันเส้นทางนี้ถูกส่งเสริมให้เป็นหนึ่งในเส้นทางผ่านของจีน เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่ตั้งติดกับพรมแดนของประเทศอาเซียน

 เมืองรุ่ยลี่ เปิดช่องทางการค้าจีน-เมียนมา

จากเมืองคุนหมิง ทางคณะได้เดินทางต่อไปยังด่านรุ่ยลี่ของมณฑลยูนนานที่ได้กลายเป็นด่านสำคัญที่สุดสำหรับการค้าชายแดนจีน-เมียนมา ซึ่งเป็นเส้นทางจากนครคุนหมิงไปยังทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนนานโดยผ่านเมืองรุ่ยลี่ และตัดเข้าสู่กรุงย่างกุ้งของเมียนมา

เมืองรุ่ยลี่นี้มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา และเป็นจุดสุดท้ายของเส้นทางหลวงหังโจว-รุ่ยลี่โดยสินค้าหลักสำคัญที่ยูนนานนำเข้าจากเมียนมา คือ สินค้าเกษตรสำเร็จรูป วัสดุไม้ ผลิตภัณฑ์จากการประมง และสินค้าหลักสำคัญที่ยูนนานส่งออกไปยังเมียนมาคือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล อะไหล่รถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ด่านรุ่ยลี่มีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก จำนวนประชาชนและรถยนต์ที่ผ่านเข้า-ออกสูงเป็นอันดับ1 ของด่านทางบกในมณฑลยูนนาน

“ทุกๆปี การส่งออกสินค้าของจีนไปเมียนมา ผ่านชายแดนรุ่ยลี่ มีมูลค่าสูงถึง 4,500 ล้านดอลลาร์สห

[caption id="attachment_112787" align="aligncenter" width="503"] โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์[/caption]

รัฐฯ (ประมาณ 157,500 ล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทรถมอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์อุตสาหกรรม และอุปกรณ์โทรคมนาคม” นายหง เหลี่ยง หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจุดเช็กพอยต์สินค้าเข้า - ออกของรุ่ยลี่ กล่าว

ซึ่งในอนาคตหากเส้นทางรถไฟและเส้นทางด่วนที่เชื่อมต่อมายังเมืองรุ่ยลี่ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะทำให้เมืองรุ่ยลี่กลายเป็นประตูสู่ต่างประเทศทางภาคตะวันตกของมณฑลยูนนาน ซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศเมียนมา และสามารถผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชียใต้ได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,208 วันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน 2559