ตามรอยพระบาทพ่ออยู่หัวรัชกาลที่ 9 สร้างสรรค์ผู้ประกอบการผ่าน 5 กลุ่มธุรกิจ

11 พ.ย. 2559 | 06:00 น.
การดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น “กษัตริย์นักคิด นักพัฒนา” ดังนั้นหากจะประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ ผู้ประกอบการและนักออกแบบต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” ให้สอดรับกับกระแสยุคปัจจุบัน เปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นมูลค่า โดยไม่ลืมรากฐานความเป็นไทยที่มีความได้เปรียบเป็นทุนเดิม เป็นหนึ่งในทางออกที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ได้อย่างยั่งยืนศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการต่าง ๆ ภายในประเทศ ให้สามารถดึงความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์กับทุนทางวัฒนธรรมและสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ให้มี “มูลค่า” สูงสู่สายตาประชาคมโลก จึงได้จัดนิทรรศการ “Baht & Brain” เพื่อนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการ 5 กลุ่มธุรกิจที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้ คือ

[caption id="attachment_112523" align="aligncenter" width="503"] จารุพัชร อาชวะสมิต จารุพัชร อาชวะสมิต[/caption]

1. กลุ่มเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food) โดยตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีประยุกต์ใช้จนประสบผลสำเร็จ คือ “สมาร์ทฟาร์ม” ระบบเทคโนโลยีวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยาเพื่อกำหนดรูปแบบการเพาะปลูกที่เน้นเพิ่มผลผลิต และประหยัดทรัพยากรไปในเวลาเดียวกัน

2. กลุ่มหัตถกรรม (Craft) หนึ่งในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดในการผลิตงานฝีมือ ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณการผลิต และสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ต่อยอดงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันมากขึ้น และมีมูลค่าสูงขึ้น คือการผลิตผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลส ที่นำเสนอความแปลกใหม่ และสามารถนำไปใช้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ เสื้อผ้าดีไซน์แปลกใหม่ กระเป๋าถือป้องกันคลื่นรบกวน และวัสดุบุผนังป้องกันคลื่นรบกวน

3. กลุ่มบริการ (Service) โดยเฉพาะการท่องเที่ยวประยุกต์แนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน คือ แพลตฟอร์มทัวร์ชุมชน ที่เน้นวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม และประสานงานกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับ ความเป็นไทยอย่างแท้จริง ด้วยความสะดวกสบาย

M3132081 4. กลุ่มไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) หนึ่งในธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ ผ่านการถ่ายทอดวัฒนธรรมและวิถีความเป็นไทยสู่กิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงโลกให้สามารถเข้าถึงสารจากทั่วทุกมุมโลกผ่านอินเทอร์เน็ท กระจายกลิ่นอายความเป็นไทย และเปลี่ยนเป็นมูลค่าเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยตัวอย่างสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ อาทิ การขายลิขสิทธิ์รายการเกมโชว์ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ วงดนตรีหมอลำที่สร้างชื่อเสียงระดับโลก เดอะพาราไดซ์บางกอก (The Paradise Bangkok Molam International Band) และภาพยนตร์แอนนิเมชั่นที่ประสบความสำเร็จในเวทีนานาชาติจาก The Monk Studios

5. กลุ่มกีฬา (Sport) กีฬาไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง “มวยไทย” เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก มีค่ายฝึกที่ขึ้นทะเบียนกับสภามวยโลกกระจายอยู่ใน 128 ประเทศทั่วโลก แต่ปัญหาหลักคือหลักสูตรขาดมาตรฐาน สภามวยไทยโลกจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานมวยไทยไอกล้าขึ้นเพื่อจัดทำหลักสูตรออนไลน์ (iGLA Muaythai Animation Education System - iMAES) ผ่านการประยุกต์นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มวยไทย กลายเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญาประจำชาติ” ที่ถ่ายทอดผ่าน หลักสูตรการสอนที่ได้มาตรฐานแบบออนไลน์ แอนนิเมชั่น และเกม ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[caption id="attachment_112525" align="aligncenter" width="341"] ตามรอยพระบาทพ่ออยู่หัวรัชกาลที่ 9 สร้างสรรค์ผู้ประกอบการผ่าน 5 กลุ่มธุรกิจ ตามรอยพระบาทพ่ออยู่หัวรัชกาลที่ 9 สร้างสรรค์ผู้ประกอบการผ่าน 5 กลุ่มธุรกิจ[/caption]

นางสาวจารุพัชร อาชวะสมิต นักออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ เล่าว่า ความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจการออกแบบสิ่งทอของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มต้นขึ้น เมื่อครั้งได้รับโอกาสในการทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะได้สัมผัสกับมุมมองของความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศจากโครงการในพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมากมาย ได้เรียนรู้ถึงความเป็นนักพัฒนาที่ไม่มีวันหยุดของพระองค์ท่าน จึงตั้งมั่นว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านออกแบบสิ่งทอของตนเอง มาร่วมเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางด้านงานหัตถกรรม สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของไทย อันจะนำไปสู่การสร้างงานและการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนสู่ชุมชนตามรอยพระราชดำริ

ทั้งนี้การปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรวดเร็วโดยยังคงตัวตนของท้องถิ่นไว้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการพัฒนางานหัตถกรรมสิ่งทอ ความสร้างสรรค์และ

ความแตกต่าง การทำความรู้จักและเปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเข้าไปพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จะทำให้หัตถกรรมสิ่งทอของไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น อย่างตนเองได้พัฒนา การทอผ้าจากโลหะ ซึ่งมาจากไอเดียที่จะใช้วัสดุที่ก้าวข้ามความเชื่อเดิมๆ ก้าวข้ามการผลิตและการใช้งานเดิม ๆ และโลหะเป็นวัตถุดิบที่ความแข็งแกร่งแต่สามารถดึงให้กลายเป็นเส้นที่นิ่มนวลและเล็กได้ในระดับไมครอน มีความหรูหรามันวาว แต่สามารถผ่านกรรมวิธีการทำให้เป็นคราบ (patina) ให้ดูเก่าและดิบได้ และเป็นวัสดุที่มีระบบธุรกิจทั้งมหภาคและจุลภาครองรับการรีไซเคิลอย่างกว้างขวาง

จากแนวคิดนั้นจึงได้เริ่มต้นทดลองจากการใช้ สแตนเลส ทองแดง ทองเหลือง และดีบุก โดยผ้าทอสแตนเลสมีความพิเศษคือ ใช้เส้นใยขนาดเล็กหน่วยเป็นไมครอน ทำให้ผ้าเบาโปร่งแสง และไม่ต้องใช้สารเคมีในการทำให้เกิดลายเลย เพราะลวดลายเกิดจากการให้ความร้อนที่ผิวเส้นใย ผ้าสแตนเลสมีผิวสัมผัสที่เรียบลื่นละเอียดคล้ายผิวสัมผัสของผ้าไหม สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการล้างและผึ่งให้แห้ง ไม่เกิดสนิม ส่วนเส้นใยโลหะชนิดอื่นๆ เช่น ทองแดง ทองเหลืองใช้กรรมวิธีที่ทำให้เกิดคราบ (patina) เป็นตัวทำให้เกิดลาย ผลงานเหล่านี้อยู่ภายใต้แบรนด์ Ausara Surface ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักออกแบบตกแต่งภายใน นำไปใช้ในการตกแต่งโรงแรม คอนโดมิเนียม สนามกอล์ฟและบ้านพักอาศัยทั้งในประเทศไทย เอเชียและยุโรป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,208 วันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน 2559