สำรวจพื้นที่ ตามรอยเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ตอน2)

08 พ.ย. 2559 | 11:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

จากที่กล่าวไปแล้วในบทความตอนแรกว่า เมืองอู๋ซีทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซูในภาคตะวันออกของประเทศจีนนั้นเป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ฉบับนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” จึงขอพาผู้อ่านเดินทางไปเยือนอาณาจักรเครื่องนุ่งห่มที่ใหญ่ที่สุดในจีน ที่รับผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ดังๆจากทั่วโลก รวมถึงแบรนด์ของตนเอง “โฮโด” (Hodo) เพื่อไปชมโรงงานผลิตและสัมภาษณ์ผู้บริหารของโฮโด กรุ๊ปถึงโครงการร่วมลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศกัมพูชา

  “โฮโด กรุ๊ป” ลุยร่วมทุนข้ามแดนในกัมพูชา

ในปี 2558 เวิลด์ แบรนด์แล็บ รายงานว่า โฮโด กรุ๊ป แห่งเมืองอู๋ซี ผู้นำอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของจีน ภายใต้ยี่ห้อ “โฮโด” ติด 1 ใน 500 อันดับแบรนด์ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลที่สุดในโลก โดยภารกิจหลักของโฮโด คือการผลิตเสื้อผ้าของแบรนด์ดังต่างชาติ อาทิ กลุ่มแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าวัยรุ่นอย่าง "เอชแอนด์เอ็ม" (H&M) จากประเทศสวีเดน อย่างไรก็ตาม โฮโด กรุ๊ป ยังมีการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง รวมถึงยางรถยนต์ ชีวเภสัชภัณฑ์ และอสังหาริมทรัพย์

[caption id="attachment_112063" align="aligncenter" width="503"] ท่าเรือไท่ฉาง ที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญ ท่าเรือไท่ฉาง ที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญ[/caption]

นายเจคเฉินรองประธานของโฮโด กรุ๊ป กล่าวว่า ในฐานะเอกชนก็ตั้งเป้าจะดำเนินตามนโยบาย One Belt One Road ของภาครัฐโดยล่าสุดได้เข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทคู่ค้าในกัมพูชาตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชา โดยปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์มีผู้ลงทุนจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจำนวน 103 ราย มี 88 บริษัทที่ดำเนินการผลิตแล้ว และมีการจ้างงานพนักงานในพื้นที่ประมาณ 16,000 คน ซึ่ง 70% มาจากครอบครัวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น

โฮโด กรุ๊ป เป็นบริษัทเอกชนจีนรายใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากภูมิภาคเอเชียแล้ว บริษัทยังมีสำนักงานอีก 2 แห่งที่เมืองนิวยอร์กและลอสแองเจลิส ในประเทศสหรัฐอเมริกาโฮโด กรุ๊ป เป็นบริษัทเอกชนจีนรายใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากภูมิภาคเอเชียแล้ว บริษัทยังมีสำนักงานอีก 2 แห่งที่เมืองนิวยอร์กและลอสแองเจลิส ในประเทศสหรัฐอเมริกา

[caption id="attachment_112065" align="aligncenter" width="503"] บรรยากาศในโรงงานการผลิตของโฮโด กรุ๊ป บรรยากาศในโรงงานการผลิตของโฮโด กรุ๊ป[/caption]

“ในอนาคต โฮโด กรุ๊ปจะยกระดับการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นและจะสร้าง Cultural Branding ให้เป็นอันดับหนึ่งในจีนให้กับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายภายใต้ชื่อแบรนด์โฮโด ที่ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายตัวผลิตภัณฑ์หรือชื่อยี่ห้อเท่านั้น แต่จะล้วงลึกเข้าไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการทั้งหมดด้วย”

หลังจากนั้นทางคณะได้ออกเดินทางต่อไปยังเมืองซูโจวในมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นเมืองที่มีศักยภาพและเติบโตเร็วที่สุดในจีนโดยมีแรงผลักดันจากฐานอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง ให้มีทั้งการลงทุน การผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และการเพิ่มขีดความสามารถทางโลจิสติกส์

 ท่าเรือไท่ฉางประตูสินค้าจีน-อาเซียนบนเส้นทางสายไหมทางทะเล

หากดูจากแผนที่เส้นทางสายไหมทางทะเลแล้ว จะเห็นได้ว่าจีนได้วางแผนกำหนดบทบาทของตัวเองให้เป็นต้นทางของเส้นทางดังกล่าวและ “ท่าเรือไท่ฉาง” ก็เป็นอีกหนึ่งท่าเรือสำคัญของซูโจวที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญในอนาคต จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารของท่าเรือไท่ฉาง เราพบว่า ท่าเรือแห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากบนเส้นทางสายไหมทางทะเล

[caption id="attachment_112064" align="aligncenter" width="503"] คณะผู้สื่อข่าวจากอาเซียนร่วมฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ คณะผู้สื่อข่าวจากอาเซียนร่วมฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่[/caption]

ท่าเรือไท่ฉางก่อตั้งขึ้นมากว่า 20 ปี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศจีนและติดลุ่มแม่น้ำแยงซี รวมถึงนครเซี่ยงไฮ้ โดยท่าเรือแห่งนี้กำลังจะยกระดับขีดความสามารถของการแข่งขันให้เป็นสถานที่ขนส่งและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน สำหรับการดำเนินงานของท่าเรือไท่ฉางนั้นจัดให้มีเขตปลอดภาษีและการพัฒนาระบบอี-คอมเมิร์ซ รวมถึงการนำเข้าสินค้าผ่านการผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปออฟไลน์ ซึ่งทั้งระบบโลจิสติกส์และฐานการค้านี้ ทำให้มีปริมาณสินค้าสูงถึง100 ล้านหยวน

นายเว่ย เกาลิน รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของท่าเรือไท่ฉาง กล่าวว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเลกำลังเชื่อมโยงเป็นไหมเส้นยาวที่สอดร้อยประเทศอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันท่าเรือนี้ก็กำลังพัฒนาให้เป็นต้นทางการส่งออกและปลายทางการนำเข้าสินค้าโดยการร่วมมือกับประเทศที่เป็นทางผ่าน อย่างเช่นประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนสำคัญของภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นโอกาสของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากเส้นทางนี้ ตามโครงการ One Belt One Road เพื่อเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่างอาเซียน-จีนในการลำเลียงวัตถุดิบและสำหรับผู้ผลิตที่กำลังมองหาแหล่งวัตถุดิบ”

เมื่อถามถึงโอกาสของผู้ส่งออกของไทยรองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของท่าเรือไท่ฉางกล่าวเสริมว่า ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายไหมทางทะเลจากจีนเพื่อส่งออกสินค้าและนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ซึ่งการใช้เส้นทางนี้น่าจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ในอนาคต

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,207 วันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559