การสร้างความยั่งยืนในแบบของธุรกิจครอบครัว

22 ตุลาคม 2559
ในปัจจุบันความยั่งยืนถือเป็นวาระสำคัญที่สุดสำหรับองค์กรต่างๆจากการศึกษาโดย EY และKennesaw State University 2014) ได้ทำการสำรวจธุรกิจครอบครัวที่ใหญ่และประสบความสำเร็จที่สุดในโลก1,000 ราย จาก 21 ตลาดใหญ่ทั่วโลกชี้ว่าการนำความยั่งยืนเข้ามาสู่ธุรกิจไม่เพียงสร้างความสมดุลในผลสุดท้ายของการทำธุรกิจให้มีความสมดุล 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม (triple bottomline) เท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความเหนียวแน่นในครอบครัวได้อีกด้วย และเมื่อขอให้ผู้นำธุรกิจครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้คะแนนความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนจากข้อความ อาทิเช่น “ครอบครัวของเราเชื่อว่าการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ” และ “ธุรกิจครอบครัวเราได้รับผลกระทบที่เป็นบวกจากการตัดสินใจทำตามเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน” (ภาพที่ 1) และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล ROE และความเหนียวแน่นก็พบว่าความยั่งยืนไม่เพียงมีความสัมพันธ์กับความเหนียวแน่นเท่านั้นแต่ยังเชื่อมโยงโดยตรงไปสู่ความสามารถในการทำกำไรอีกด้วย consistent

[caption id="attachment_107373" align="aligncenter" width="700"] ธุรกิจครอบครัวเราได้รับผลกระทบที่เป็นบวกจากการตัดสินใจทำตามเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน ธุรกิจครอบครัวเราได้รับผลกระทบที่เป็นบวกจากการตัดสินใจทำตามเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน[/caption]

ทั้งนี้แนวคิดในการสร้างความยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่เพียงมุ่งเน้นการสร้างความสมดุลในผลสุดท้ายของการทำธุรกิจให้มีความสมดุล 3 ด้าน (triple bottom line)เท่านั้น แต่ยังมุ่งรวมไปถึงความสามารถของธุรกิจในการที่จะฟื้นตัวจากความแปรปรวนของตลาด การเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับต่างๆ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก(Disruptive Technology) วิกฤติสิ่งแวดล้อมและการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยุ่งยากอื่นๆ อีกด้วย โดยหากธุรกิจมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนย่อมจะส่งผลดีต่อธุรกิจ

ดังนั้นเมื่อแนวปฏิบัติในการสร้างความยั่งยืนถูกนำมาใช้ในธุรกิจครอบครัวจึงไม่เพียงเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้นแต่ยังมีผลทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ลดการเกิดของเสียและเพิ่มความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์ได้ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรโดยตรง

ทั้งนี้สำหรับสมาชิกในครอบครัวแล้ว การสร้างความยั่งยืนเป็นวิธีแสดงให้การบริหารธุรกิจของครอบครัว

นอกจากนี้ความยั่งยืนยังช่วยเพิ่มความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงานที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวและความภักดีของลูกค้าอีกด้วย เช่น จากการศึกษาเมื่อไม่นานชี้ว่าผู้บริโภคทั่วโลกยินดีจ่ายมากขึ้นให้กับแบรนด์ที่พวกเขาเชื่อว่ามีความยั่งยืน

ทั้งนี้ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากมีการสร้างความยั่งยืนโดยทางตรงด้วยการส่งเสริมทั้งความมุ่งมั่นทุ่มเทของครอบครัวและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท เช่น บางครอบครัวตั้งเป้าหมายการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด(zero waste) ซึ่งคนรุ่นต่อไปก็กระตือรือร้นที่จะให้ความร่วมมือ บางครอบครัวมีการอบรมสมาชิกในครอบครัวให้รับรู้ในเรื่องของการสร้างความยั่งยืนและมีการบอกกล่าวพูดคุยกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจของพวกเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในครอบครัวและธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจครอบครัวอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “เมื่อครอบครัวแสดงออกว่าจะมุ่งมั่นต่อธุรกิจด้วยถ้อยคำและการกระทำเช่น มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืน จะช่วยเพิ่มระดับความมั่นใจและความกระตือรือร้นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะขับเคลื่อนแรงจูงใจและส่งเสริมการดำเนินงานและความกลมเกลียวของทุกฝ่าย”

ที่มา : EY and Kennesaw StateUniversity. 2014. In harmony Familybusiness cohesion and profitability :Initial findings from the global surveyof the world’s largest family businesses.Available: http://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/Family_business_cohesion_and_profitability/$FILE/EYFamilybusinesscohesionprofitability.pdf

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,202 วันที่ 20 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559