ทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี-สะพานพระราม 8เมกะโปรเจ็กต์คมนาคมจากแนวพระราชดำริ

22 ตุลาคม 2559
โครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์ด้านคมนาคมขนส่งที่เกิดคุณูประการต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากมายมหาศาลนอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาจราจรอันเกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร โดยจัดเป็น2 เส้นทางหลักที่เชื่อมโยงพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครกบั พื้นที่โซนตะวันตกได้อย่างกลมกลืนให้ผู้ใช้เส้นทางได้รับความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

[caption id="attachment_107357" align="aligncenter" width="500"] ทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี ทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี[/caption]

ทางคู่ขนานลอยฟ้า

โครงการทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี หรืออีกชื่อที่คุ้นหูชาวบ้านนั่นก็คือ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และได้พระราชทานพระราชดำริในแนวทางตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลสำเร็จมาแล้วอย่างต่อเนื่อง

“โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า” เป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจรและนํ้าพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตากรุณาที่ทรงมีต่อพสกนิกร เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่โรงพยาบาลศิริราชช่วงเดือนมิถุนายน 2538 ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมากที่บริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนบรมราชชนนี จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าไปยังบริเวณสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่

จากแนวพระราชดำรินี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น)ได้เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา) และปลัดกรุงเทพมหานคร (นายประเสริฐ สมะลาภา) มาประชุมร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการประชุมสรุปได้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากแยกอรุณอัมรินทร์ถึงคลองบางกอกน้อยระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร และกรมทางหลวงรับผิดชอบก่อสร้างจากคลองบางกอกน้อย ไปจนถึงแยกพุทธมณฑลสาย 2 โดยให้รูปแบบสะพานเสาและคานมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกันหมดเป็นระยะทาง 9.4 กิโลเมตรและจากบริเวณทางยกระดับสิรินทรไปจนเลยทางแยกพุทธมณฑลสาย 2 อีก1 กิโลเมตร

นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้ก่อสร้างขยายช่องจราจรระดับพื้นราบจากเดิมที่มี 8 ช่องจราจร เพิ่มขึ้นเป็น 12ช่องจราจรพร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ที่เกาะกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูล และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการดังกล่าวในวันที่16 เมษายน 2539 และเสด็จฯทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 และทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปตามทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี หลังจากเสด็จพิธีตัดริบบิ้นแถบแพรเปิดทางแล้ว

ปัจจุบันทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี ได้ช่วยระบายการจราจรจากพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สู่ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินทร ทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย-นครชัยศรี ให้สามารถสัญจรไปมาด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัยยิ่งขี้น เนื่องจากมีช่องจราจรรองรับถึง 16 ช่องจราจร และยิ่งเพิ่มความคล่องตัวให้กับยานพาหนะที่จะใช้เส้นทางนี้เดินทางสู่ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ระหว่างชานเมืองอื่น ๆ ในบริเวณดังกล่าว ให้มีการจราจรสะดวก คล่องตัวเป็นการช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี

นี้คือความปลาบปลี้มและภาคภูมิใจของกรมทางหลวง ที่ได้มีโอกาสสนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสร้างทางตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งของกรุงเทพฯ

โครงการพระราชดำริ สะพานพระราม 8

เช่นเดียวกับโครงการสะพานพระราม 8 เป็นสะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาแห่งที่ 13 มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขันเขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเขตพระนคร

สะพานนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2538 พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีและเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ

สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2545

ทั้งนี้สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาดชันไม่เกิน %3 เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่นํ้300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับนํ้าหนัก 1ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับนํ้าหนักตั้งอยู่ในแม่นํ้าเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางนํ้า ช่วยป้องกันนํ้าท่วมและระบบนิเวศวิทยาในนํ้า รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งขบวนเรือพระราชพิธี

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างสะพานพระราม 8 ก็มีผลกระทบกับคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นชุมชนรายรอบการก่อสร้างต้องสละถิ่นฐานที่เคยอยู่เพื่อส่วนรวม แต่ใช่ว่าสะพานเสร็จแล้ว ชุมชนจะเลือนหายไปเหลือแค่ความทรงจำ กรุงเทพมหานครยังตระหนักในเรื่องนี้ แม้ไม่มีอาจทำให้ฟื้นกลับให้เหมือนเดิม แต่อย่างน้อยพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยจะถูกนำมาจำลองไว้ โดยจะเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ 50ไร่ บริเวณสะพานพระราม 8 เพื่อก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ของรัชกาลที่ 8 พระราชกรณียกิจของกษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ อาทิ ชุมชนบ้านปูน โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกแบบรายละเอียด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,202 วันที่ 20 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559