เคาะค่าจ้างขั้นตํ่าใหม่19 ต.ค.นี้ ลูกจ้างลุ้นหวังได้ปรับขึ้นถ้วนหน้า

22 ตุลาคม 2559
อนุฯเฉพาะกิจสรุปแล้วตัวเลขค่าแรงขั้นตํ่าใหม่ พร้อมเสนอที่ประชุมไตรภาคีเคาะ 19 ต.ค.นี้ ตัวแทนลูกจ้างยํ้าต้องรอบคอบ ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ เหตุปรับขึ้นแล้วลงไม่ได้ ขบวนการแรงงานหวังได้ปรับทั้งระบบ หลังข้าราชการ พนักงานรสก.และกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ปรับรายได้ทั่วกันแล้ว

ตามที่คณะกรรมการค่าจ้าง มีมติในการประชุมครั้งที่แล้ว (15 กันยายน2559) ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาเพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ให้ไปพิจารณาสูตรคำนวณใหม่ และให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและวิชาการ นำข้อมูลของคณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดทั่วประเทศ ที่เสนอข้อมูลมา เข้าสูตรคำนวณที่ปรับใหม่ รวมทั้งให้พิจารณาเป็นกลุ่มพื้นที่ตามระดับทางเศรษฐกิจโดยให้เสนอคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 19 ตุลาคมนี้ นั้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงานเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คณะอนุฯเฉพาะกิจฯได้ประชุมคณะทำงานเสร็จแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมาพร้อมเสนอโครงสร้างตัวเลขการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าใหม่ให้คณะกรรมการค่าจ้างที่จะประชุมในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ได้พิจารณามีมติได้แล้ว

ด้านนายสมบัติ น้อยหว้า กรรมการค่าจ้างฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า จนถึงเวลานี้ยังไม่มีหนังสือแจ้งเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างยังคงเดินหน้าตามนัดหมายเดิม คือวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ซึ่งคณะอนุฯเฉพาะกิจคงพร้อมเสนอโครงสร้างอัตราค่าจ้างใหม่มาให้พิจารณาเพื่อมีมติได้ ซึ่งคณะกรรมการไตรภาคีพร้อมพิจารณา ทั้งนี้ โดยจุดยืนของตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ต้องการให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า แต่การพิจารณาเรื่องนี้ต้องละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้ ไม่มีฝ่ายใดเดือดร้อนและพิจารณาทุกแง่ทุกมุม เพราะเมื่อมีมติให้ปรับขึ้นแล้วไม่สามารถลงได้

ส่วนที่เสนอให้ปรับค่าจ้างขั้นตํ่าเป็นวันละ 360 บาทนั้น จะต้องดูสภาพความเป็นจริง และกำลังจ่ายของนายจ้างด้วย เพราะหากปรับขึ้นค่าจ้างแล้วสถานประกอบการอยู่ไม่ได้ ต้องปิดกิจการ หรือย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ก็จะทำให้ลูกจ้างตกงาน หรือกระตุ้นให้สินค้าปรับราคาขึ้นไปอีก ค่าครองชีพที่สูงขึ้นอาจมากกว่าอัตราค่าจ้างที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นก็เป็นได้
ลูกจ้างตกงาน หรือกระตุ้นให้สินค้าปรับราคาขึ้นไปอีก ค่าครองชีพที่สูงขึ้นอาจมากกว่าอัตราค่าจ้างที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นก็เป็นได้เช่นกัน นายอรรถยุทธ ลียะวณิชผู้แทนฝ่ายนายจ้างในคณะกรรมการค่าจ้าง เปิดเผยว่า ยังไม่มีการแจ้งเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงนัดหมาย การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างยังเป็นไปตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 19 ตุลาคม นี้ ซึ่งคณะกรรมการฯพร้อมรับฟังการสรุปรายงานของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯเพื่อจะได้มีข้อยุติในเรื่องของการขอปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าที่ยืดเยื้อมาพอสมควรได้เสียที โดยผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรต้องรอมติของที่ประชุมวันดังกล่าวอีกครั้ง

ด้านแหล่งข่าวจากผู้นำแรงงานเปิดเผยว่า สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ คงต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าจะมีมติในการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าไปเป็นอย่างไร โดยในช่วงนี้ขบวนการแรงงานจะพักการเคลื่อนไหวต่างๆ ไว้ระยะหนึ่งก่อน ซึ่งก็ต้องคอยติดตามดูว่า จากที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปก่อนหน้านี้ว่า ขอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าเป็น 360 บาททั่วประเทศ ว่าการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคีในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ จะมีข้อสรุปเป็นอย่างไร

“อย่างไรก็ตามเรายังมีความคาดหวังว่า จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าให้แก่ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ เพราะที่ผ่านมามีการปรับค่าตอบแทนให้กับภาคส่วนอื่นๆ หมดแล้ว ทั้งการปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและล่าสุดให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน คงไม่มีเหตุผลถ้าลูกจ้างทั่วประเทศจะไม่ได้ปรับค่าจ้างขั้นตํ่า ที่ได้รับในอัตราวันละ 300บาท มานานตั้งแต่ปี 2556 แล้ว”

การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าเป็น300 บาทต่อวัน เริ่มเมื่อกลางปี 2555 ในพื้นที่ที่ค่าครองชีพสูงบางส่วน และใช้ทั่วทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา โดยครั้งนั้นเป็นการปรับโครงสร้างอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าตามนโยบายรัฐบาลเพื่อไทยจากที่ได้ประกาศรณรงค์หาเสียงไว้ ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากระดับค่าจ้างขั้นตํ่าที่ 150-170 บาทต่อวันแตกต่างกันไปตามเขตพื้นที่ มาเป็นอัตราเดียว 300 บาททั่วประเทศ โดยจะคงอัตรานี้ไปอีก 3 ปี (2556-2558)

กลางปี 2558 ผู้นำขบวนการผู้ใช้แรงงาน เริ่มเคลื่อนไหวให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า โดยขอให้ปรับขึ้นเป็น360 บาท หลังครบกำหนด 3 ปี และให้ปรับเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศต่อไปเพื่อเป็นของขวัญให้ผู้ใช้แรงงานในปี2559

แต่ปลายปี 2558 คณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งมีม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ได้มีมติให้เลื่อนการพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นตํ่าไปอีก 6 เดือน จากสภาวะเศรษฐกิจประเทศและเศรษฐกิจทั่วโลกที่ผันผวนและเปราะบาง และมีมติให้พิจารณาการขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าเป็นรายพื้นที่จังหวัด จากการใช้ข้อมูลและข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัด ที่เสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณา

ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าประจำปี 2559 ออกไปอีก 2เดือน และให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดกลับไปสำรวจตัวเลขชี้วัดสำคัญทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เสนอกลับมาให้คณะกรรมการค่าจ้างอีกครั้งภายในเดือนกรกฎาคม “เนื่องจากตัวเลขทีมี่การเสนอมาก่อนหน้านั้น เป็นตัวเลขของปี 2558ซึ่งเป็นตัวเลขเก่า และจากการนำไปคำนวณทางวิทยาศาสตร์พบว่า ยังไม่อือให้ปรับขึ้นค่าจ้างทั้งประเทศ” โดยก่อนหน้านั้นมีอนุฯค่าจ้างจังหวัดเพียง 6 จังหวัดเท่านั้น ที่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าคือ สระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ตอยุธยา และฉะเชิงเทรา

กระทั่งการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายน2559 มติคณะกรรมการไตรภาคี ให้เลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าไปอีก 1เดือน และมอบอนุฯเฉพาะกิจ ไปทำสูตรคำนวณใหม่ โดยขยายจาก 3 หลักการเดิม คือ สภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพของลูกจ้าง และความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง โดยขยายถึงตัวชี้วัดสำคัญ 10รายการ อาทิ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในของประเทศ (จีดีพี) ผลิตภาพแรงงาน เป็นต้นเพื่อเสนอในการประชุม 19 ตุลาคม นี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,202 วันที่ 20 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559