เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินน้อมใจ สืบสานพระราชปณิธาน “การแพทย์ฉุกเฉิน”

21 ต.ค. 2559 | 07:58 น.
เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินน้อมใจ สืบสานพระราชปณิธาน “การแพทย์ฉุกเฉิน” เพื่อคนไทย รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ให้ได้รับการรักษาที่ทั่วถึงและเท่าเทียม

นายนาวิล คงดี หนึ่งในผู้บริหารของสมาคมอยุธยา รวมใจหน่วยกู้ภัยอยุธยา 7 กว่า 20 ชีวิต ที่ร่วมถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่บริเวณท้องสนามหลวง เป็นหนึ่งในทีมประสานและสนับสนุนทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและเครือข่ายเตรียมการเอาไว้ เพื่อคอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดินทางเข้าร่วมถวายอาลัยสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โดยมีเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินจากหลากหลายมูลนิธิหลากหลายองค์กร ในการเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ อาทิ มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู สมาคมอยุธยารวมใจ มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ ชลบุรี มูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร เครือข่ายอาสาวชิรพยาบาล มูลนิธิสยามนนทบุรี  มูลนิธิฮุก 31 นครราชสีมา และอีกหลายมูลนิธิที่ทยอยติดต่อเข้ามา โดยทุกเครือข่ายพร้อมลงปฏิบัติหน้าที่ในการประสานและสนับสนุนทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเต็มที่ ทั้งทางบกและทางน้ำ พร้อมร่วมกับหน่วยแพทย์อื่น ๆ ที่ต่างเตรียมพร้อมรอบบริเวณงาน ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช ทรงเคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประชาชนของพระองค์ไว้ว่า “ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง” ด้วยกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว พวกเราทุกคนทุกหน่วยงานจึงขอสาน ต่อพระราชปณิธานในการดูแลประชาชนของพระองค์ให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีในทุกๆ กรณีไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วยในสภาวะปกติ โดยทีมประสานและสนับสนุนทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินได้ร่วมมือร่วมใจเข้ามาครั้งนี้ จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทุกคนที่เดินทางเข้าร่วมร่วมถวายอาลัยฯ อย่างเต็มที่  ซึ่ง สพฉ. ได้นำรถสื่อสารและประสานงานเข้า ไปประจำที่บริเวณท้องสนามหลวง และจัดแบ่งเครือข่ายมูลนิธิที่เข้าร่วมกระจายออกหลายจุด เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ เรายังได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครพร้อมชุดปฐมพยาบาลเดินเท้าเข้าสำรวจว่ามีใครที่เจ็บป่วยฉุกเฉินและต้ องการการช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลในเบื้องต้นหรือไม่  การทำงานของพวกเราในครั้งนี้ เพื่อถวายแด่พ่อหลวงของพวกเราด้วยใจที่เต็มร้อย”เลขาธิการ สพฉ. กล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย พระองค์ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการ แก้ไขโดยในการเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ ได้ทันที

นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มี ความสำคัญดังนี้

ปี 2498 ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์แก่ บริษัท อู่เรือกรุงเทพ จำกัด เพื่อต่อเรือยนต์ให้สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางน้ำ พระราชทานนามเรือว่า เวชพาหน์ ออกตรวจรักษาโรคทั่วไปและให้บริการด้านทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองรวมทั้งบรรทุกสิ่งของจำเป็นไปช่วยเหลื อผู้ประสบอัคคีภัย อุทกภัย หรือราษฎรที่ยากจน

ปี 2503 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โครงการแพทย์หลวงและหน่วยแพทย์พระราชทาน และโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงและแพทย์ที่ติดตามขบวนเสด็จไปในชนบท ออกตรวจรักษาราษฎรเจ็บป่วยซึ่งมารอรับเสด็จ เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปประทับแรมในภาคต่างๆ เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรจนถึงปัจจุ บัน

ปี 2504 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินงานด้านบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภัยพิบัติทางธรร มชาติจนถึงปัจจุบัน

ปี 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็ จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มารอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก โครงการดังกล่าวประกอบด้วยการ บำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุข ภาพอนามัยของราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง

และในปี 2525 ทรงพระราชทานโครงการหมอหมู่บ้าน โดยคัดเลือกราษฎรอาสาสมัครตามหมู่บ้านต่าง ๆ มารับการอบรมหลักสูตร “หมอหมู่บ้าน” เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรมนำความรู้กลับไปช่ วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตน  และสามารถติดต่อส่งตัวผู้ป่วยไป รักษาที่โรงพยาบาลเมื่อจำเป็น โดยเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาขยายโครงการออกไปสู่หมู่บ้ านที่มีโครงการอันเนื่องมาจากพร ะราชดำริหรือโครงการศิลปาชีพ

ปี 2536 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการโครงการพระราชดำริ “ตำรวจจราจรช่วยเหลือผู้ป่วยฉุก เฉิน” หรือที่รู้จักกันในนาม “จราจรในพระราชดำริ” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 18 ล้านบาท ให้กองบั ญชาการตำรวจนครบาลนำไปจัดเป็ นหน่วยจราจรเคลื่อนที่เร็วเพื่ อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทุกกรณี ในช่วงจราจรติดขัด ตลอดจนนำหญิงใกล้คลอดส่งโรงพยาบ าลโดยเร็ว หรือทำคลอดฉุกเฉินจนถึงปัจจุบัน  และนี่เป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่ งของพระราชกรณียกิจทางด้านสุขภาพอนามัย ที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มขึ้น

นายนาวิล คงดี ผู้บริหารของสมาคมอยุธยารวมใจหน่วยกู้ภัยอยุธยา 7 ได้บอกความรู้สึกของการมาปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้กับประชาชน และการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านการดูแลสุขภาพและอนามัยของประชาชนว่า

“ก่อนหน้านี้เราได้ฝึกฝนลูกข่าย ในมูลนิธิของเราให้ ทำตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการดูแลและช่วยเหลือประชาชน ด้วยจิตอาสาของพวกเรา เราได้อบรมเจ้าหน้าที่ลูกข่ายของเรากว่า 3 พันคน ให้เรียนรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุให้ปลอดภัยได้ ใครที่เขาเจ็บมากเราก็จะบรรเทาเขาให้เจ็บน้อยลง และใครที่กำลังจะเสียชีวิต เราก็จะทำการกู้ชีพเบื้องต้นให้การที่ได้เข้ามาดูแลประชาชนของ พระองค์ในงานถวายความอาลัยให้กับพระองค์ในครั้งนี้เป็นเกียรติยศอันสูงสุดของพวกผมและทีมเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่รู้ว่าชั่วชีวิตนี้จะได้ รับเกียรติอันสูงสุดแบบนี้อีกหรือไม่ เราทุกคนในสมาคมอยุธยารวมใจหน่วยกู้ภัยอยุธยาขอสัญญาว่า จะเป็นข้ารองบาทของพระองค์ ตลอดไปและจะสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการดูแลทุกคนที่ เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างเต็มที่”  ผู้บริหารของสมาคมอยุ ธยารวมใจหน่วยกู้ภัยอยุธยา 7 กล่าว

ขณะที่ นายเอกพล ลำจวน ตัวแทนจากมูลนิธิธรรมรัศมีมณีรั ตน์ชลบุรี หนึ่งในเครือข่ายที่เข้าร่วมปฏิ บัติภารกิจในครั้งนี้ บอกเล่าความรู้สึกว่า “เรารู้สึกดีใจและภาคภูมิ ใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งทีได้ ร่วมในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้   ถึงแม้พวกเราจะเป็นส่วนเล็กๆ แต่เราก็พร้อมที่จะเติมเต็มให้ร ะบบการแพทย์ฉุกเฉินที่จะให้บริก ารกับประชาชนที่เข้าร่วมถวายอาลัยพ่อหลวงของเราสมบู รณ์แบบอย่างเต็มที่ เราจะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบ หมายให้ดีที่สุดและจะตั้งใจทำงา นกันอย่างสุดกำลัง พวกเราทุกคนไม่มีความเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานในครั้งนี้ เพราะพวกเราทุกคนคำนึงและนึกถึง พ่อหลวงเสมอว่าพ่อหลวงเหนื่ อยกว่าเราเยอะมาก เราทำแค่นี้ยังไม่ได้ครึ่งต่อการดำเนินพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน เราจะอยู่จนกว่าจะจบภารกิจของพ่อหลวง” เอกพลกล่าว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ด้วยความมุ่งหวังในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉินทุกองค์กรจักขอสืบสานพระราช ปณิธานของพระองค์ด้วยการดูแลประชาชนของพระองค์ให้ได้รับบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ทั่วถึงและเท่าเทียมตลอดไป ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป