หนุน3สตาร์ตอัพบุกตลาดโลกTCELS ดีเดย์รับสมัครหัวกะทิรอบใหม่ 15 ตุลาคมนี้

19 ก.ย. 2559 | 04:30 น.
TCELS ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เปิดตัว 3 ธุรกิจสตาร์ตอัพ “แคล นาโนเวชั่น/สกินแลบ/ไทย เคมีคัล ซัพพลายส์” หลังผ่านหลักสูตรอบรมเข้มข้น พร้อมเปิดตัวลุยขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเผยเตรียมเปิดรับสมัครรอบใหม่ 15 ตุลาคมนี้หวังเพิ่มผู้ประกอบการกลุ่มไบโอเทค อาหาร อาหารเสริม ยา เครื่องมือ

[caption id="attachment_99253" align="aligncenter" width="335"] ดร.นเรศ ดำรงชัย  ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ดร.นเรศ ดำรงชัย
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)[/caption]

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า โครงการ Mini Life Sciences Mentorship Program 20160 หรือ โครงการพี่เลี้ยง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัพ ให้สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้ในอนาคต โดยมีบริษัทสตาร์ตอัพสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 13 บริษัท และผ่านการคัดเลือก 3 บริษัท เพื่อเข้าร่วมการอบรมอย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีพาร์ตเนอร์สำคัญ คือบริษัท เอ๊กซ์ปาร่า จำกัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและกูรู ผลักดันธุรกิจสตาร์อัพ

โดยทั้ง 3 บริษัท ประกอบด้วยบริษัท แคล นาโนเวชั่น จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาเชิงวิทยาศาสตร์ เสนอผลงานการนำนาโนเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมัน จนได้ผลิตภัณฑ์ยารักษาสิว , บริษัท สกินแลบ จำกัด ผู้ให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผิว เสนอผลงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ Bioactive Peptide Chain โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และบริษัท ไทย เคมีคัล ซัพพลายส์ จำกัด บริษัทพัฒนาและผสมผสานนวัตกรรมจากธรรมชาติ 100 % นำเสนอผลงาน ไรซ์เนเชอรอลแฮร์เซรั่ม และไรซ์เนเชอรัลแฮร์เอสเซนส์ ซึ่งเป็นงานวิจัย จากข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งทั้ง 3 บริษัท มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดโลกในอนาคต

"การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ Mini Life Sciences Mentorship Program 2016 เป็นส่วนหนึ่งของการจัดแบรม Life Sciences Entrepreneurship Workshop เพื่อให้ได้บริษัทสตาร์ตอัพที่มีศักยภาพ และสามารถดำเนินธุรกิจขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยศูนย์พร้อมที่จะช่วยผลักดันถ้าต้องการทั้งในเรื่องงบประมาณ การทำวิจัย การสนับสนุนขั้นตอนการลงทุน รวมถึงการหาพาร์ตเนอร์ในการร่วมทุนต่างๆ"

ด้านนางสาว ทวีพร เกตุอร่าม ผู้จัดการโปรแกรม TCELS กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังประสบความสำเร็จจากการจัดทำโครงการครั้งนี้ TCELS ,u แผนเปิดตัวโครงการในปีต่อไป โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมนี้ พร้อมตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาบริษัทสตาร์ตอัพให้ได้ 5 บริษัท ถือเป็นโอกาสดีสำหรับบริษัทที่ต้องการเรียนรู้พัฒนาแบบเร่งด่วน พร้อมกับการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมในต้นปีหน้าด้วย โดยศูนย์จะมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่ม เทคโนโลยี ไบโอเทค อาหาร อาหารเสริม ยา เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,193 วันที่ 18 - 21 กันยายน พ.ศ. 2559