รับลูกเกียวโตต้นแบบอยุธยา ‘ทศ’แจงใช้งบร่วม 9 พันล้าน สร้างจุดขาย 12 ด้าน

24 ก.ค. 2559 | 04:00 น.
“กอบกาญจน์” รับลูกไอเดีย ชูโมเดลเมืองเกียวโตเป็นต้นแบบเนรมิตจุดขายพระนครศรีอยุธยา เตรียมนัด “ทศ จิราธิวัฒน์” พิจารณารายละเอียด ชี้ต้องโฟกัสโครงการที่จับต้องได้จริง แจงงบลงทุนร่วม 9 พันล้านบาทสำหรับการพัฒนาใน 12 ด้าน เบื้องต้นประเมินว่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 แสนล้านบาททุกปี เพิ่มรายได้ประชาชน 3 เท่า เป็น 4.5แสนบาทต่อคนต่อปี

[caption id="attachment_74155" align="aligncenter" width="700"] การแปลงโฉมอยุธยาให้เป็นโตเกียว แห่งประเทศไทย ลงทุน 9,000 ล้านบาท ครั้งเดียว ได้รายได้เพิ่ม 1.4 แสนล้านบาททุกปี การแปลงโฉมอยุธยาให้เป็นโตเกียว แห่งประเทศไทย ลงทุน 9,000 ล้านบาท ครั้งเดียว ได้รายได้เพิ่ม 1.4 แสนล้านบาททุกปี[/caption]

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าในเร็วๆ นี้ตนเอง จะมีการนัดหารือกับนายทศ จิราธิวัฒน์ หัวหน้าทีมภาคเอกชนคณะทำงานด้านการสร้างรายได้และกระตุ้นค่าใช้จ่าย (D7) หนึ่งในคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ที่ได้นำเสนอเรื่องของการใช้โมเดลของเมืองเกียวโต มาพัฒนาสร้างเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างรายได้และ กระตุ้นการใช้จ่าย โดยจะมีการหารือร่วมกันว่าจะมีโครงการใดที่จับต้องได้ และสามารถดำเนินการได้ ภายใต้การใช้งบประมาณที่เหมาะสม

เนื่องจากโครงการนี้ คาดว่าใช้งบประมาณราว 8 พันล้าน - 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งต้องมาดูในรายละเอียดของแผนการพัฒนาเป็นรายโครงการประกอบกันด้วย รวมถึงโครงการไหนที่เกิดขึ้นได้จริง ก็ต้องหารือว่าจะจัดสรรงบในการลงทุนอย่างไร เพราะเราไม่ได้มีงบมากนัก อีกทั้งโครงการยังมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการหารือร่วมกันด้วย

นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัลจำกัด และหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานด้านการสร้างรายได้และกระตุ้นค่าใช้จ่าย (D7) หนึ่งในคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน กล่าวถึงโครงการ เนรมิตอยุธยาให้เป็น 1 ใน 10 เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดว่า โครงการเนรมิตอยุธยา จะใช้โมเดลของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญด้วยจุดเด่นที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน ซึ่งเบื้องต้นประมาณการว่าจะต้องใช้เงินลงทุน 6-9 พันล้านบาท ในการพัฒนาทั้ง12 ด้าน

ประกอบไปด้วย ด้านที่ 1 คือ การบูรณะโบราณสถาน ที่ต้องดำเนินการ 20แห่งพร้อมกัน โดยส่วนหลักจะต้องบูรณะภายนอกโบราณสถาน ภายในภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้รอบบริเวณ ส่วนเพิ่มเติมที่ต้องปรับปรุง คือ ทางเข้า ทางเดินที่มีหลังคาค่าเข้าชม ป้ายสัญลักษณ์ การได้รับรองเป็นสถานที่มรดกโลก ด้านที่ 2 คือ การใช้แสงสี (ไลติ้ง) ผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลากลางคืน ด้านที่ 3 คือการเพิ่มต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม และร่มรื่น โดยมีทั้งการปรับปรุงสวนสาธารณะ การปลูกต้นไม้เพิ่มเติมที่บริเวณข้างถนนและเกาะกลางถนน

ส่วนด้านที่ 4 คือ การจัดพื้นที่ขี่จักรยานรอบเมือง โดยเพิ่มเลนจักรยานที่จอดจักรยานตามสถานที่ท่องเที่ยวหลักและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับขี่จักรยานด้านที่ 5 คือ การสัญจรทางนํ้า โดยฟื้นฟูการสัญจรทางนํ้า ด้านที่ 6 คือ การเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัย

ด้านที่ 11 การจัดทำพิพิธภัณฑ์ระดับโลก (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม) ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ โมเดลจำลองสถานที่ที่สมบูรณ์ในอดีต การใช้มัลติมีเดียและแอพพลิเคชันข้อมูลสถานที่ และด้านสุดท้าย คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายคมนาคมจากกรุงเทพฯการอำนวยความสะดวกในการเดินทางจากกรุงเทพฯ-สนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง โดยรถยนต์ส่วนตัวรถตู้ รถบัสขนส่ง รถไฟ เรือ และรถไฟความเร็วสูง โดยการปรับปรุงสามารถกำหนดให้เป็นระยะเวลา หรือเฟส 1, 2และ 3 ได้ และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดภายใน 3-5 ปี

“การเนรมิตอยุธยาครั้งนี้ มีเป้าหมาย 3 ข้อคือ 1. กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน 2. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย 3. เป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งแม้จะต้องทุ่มเงินลงทุนสูงถึง 9,000 ล้านบาทแต่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในระยะยาวโดยเบื้องต้นประเมินว่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 แสนล้านบาททุกปี แบ่งเป็นเม็ดเงินในอยุธยา 1 แสนล้านบาท และเม็ดเงินในกรุงเทพฯ 4 หมื่นล้านบาท (จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในกรุงเทพฯก่อนเดินทางไปอยุธยา) และเพิ่มรายได้ประชาชน 3 เท่า เป็น 4.5 แสนบาทต่อคนต่อปีในปี 2568 จากปัจจุบันที่มีรายได้1.7 แสนบาทต่อคนต่อปี และคาดว่านักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นถึง 15-20 ล้านคนหลังการแปลงโฉมดังกล่าว ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในอยุธยาจากที่ซบเซาให้มีความเจริญเติบโตภายในปี 2568” นายทศ กล่าวและว่า

อยุธยามีจุดเด่นมากมาย เป็นเมืองประวัติศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับเกียวโต ซึ่งที่ผ่านมาญี่ปุ่นเองไม่เคยโปรโมตการท่องเที่ยวของเกียวโต เพิ่งเริ่มจะโปรโมตเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายภายในระยะ 2 ปี จากแรกเริ่มที่ตั้งเป้าไว้ 7 ปี ดังนั้นหากประเทศไทยจะพัฒนาและยกระดับอยุธยาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องมีการปรับและดำเนินการ มีการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ปัจจุบันอยุธยา มีนักท่องเที่ยว 6.7 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.8 ล้านคน นักท่องเที่ยวท้องถิ่น 4.9 ล้านคน มีรายได้ต่อหัว 1.7 แสนบาท ขณะที่เกียวโต มีนักท่องเที่ยว 55.7 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10.4 ล้านคน นักท่องเที่ยวท้องถิ่น 45.3 ล้านคน มีรายได้ต่อหัว 1.1ล้านบาท

อย่างไรก็ดี หลังจากที่คณะกรรมการได้จัดทำวิดีโอ แปลงโฉมอยุธยา พร้อมเผยแพร่ออกไป พบว่ามีเสียงตอบรับจากประชาชนที่เข้าชมโครงการและอยากให้เกิดขึ้นจริง โดยมียอดผู้เข้าชมมากกว่า 5หมื่นวิวในเวลาอันรวดเร็ว และส่วนใหญ่ให้การสนับสนุน พร้อมมีแนวคิดในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดนั การสร้างอยุธยาให้เป็นเมืองน่ามอง น่าเที่ยว ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,176 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559