6ยุทธศาสตร์ ดันดิจิทัลไทยแลนด์

23 ก.ค. 2559 | 14:00 น.
เป็นเพราะรัฐบาลวางเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้กระทรวง และ หน่วยงานต่างๆต้องปรับตัวตามนโยบายดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความรู้ ความเข้าใจต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และ สังคม (digital economy) ทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ และ ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพ และ โอกาสของเทคโนโลยีดิจิทัล (digital opportunity) ในประเทศไทย

นั้นจึงเป็นที่มาที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร หรือ ไอซีที ซึ่งภายในเร็ว ๆ นี้ กระทรวงดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กระทรวงดีอี

ถึงแม้ตอนนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน หากแต่ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีไอซีที เป็นคนสุดท้าย ออกมาเปิดเผยและถ่ายทอดการขับเคลื่อน "ดิจิทัล ไทยแลนด์"

สู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว

นายอุตตม กล่าวว่าดิจิทัลไทยแลนด์ หมายถึงการนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในหลากหลายรูปแบบได้อย่างเต็มศักยภาพ เรียนคร่าวๆว่ายุทธศาสตร์ที่ว่านี้มี 6 ด้าน เกิดจากการร่วมกันคิดร่วมกันพัฒนาของทุกภาคส่วน รัฐบาลให้การสนับสนุนเต็มที่ ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วมีเป้าหมายหลักๆเช่น เพิ่มขีดความสามารถและการแข่งขันของประเทศไทยให้ก้าวทันโลก สร้างโอกาสความเท่าเทียมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องของบุคลากรเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะละเลยไม่ได้เลย ให้ก้าวทันโลกดิจิตอลและเรื่องของภาครัฐที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 6 ด้านไปพร้อมๆกัน ในแนวทางที่สอดรับกัน

สร้างโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่1 สร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้สามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในหลากหลายรูปแบบ เร็วๆนี้ที่ผ่านมาก่อนหน้าก็มีการประมูลคลื่นความถี่สะท้อนอะไร ภาคเอกชนลงทุนมหาศาลเพราะเห็นถึงความจำเป็นและศักยภาพของดิจิตอล ภาครัฐยุทธศาสตร์ก็จะต้องมีบทบาทในการประสานกับเอกชนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เราก็มักจะพูดถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงโครงข่ายให้ครอบคลุมให้ประชาชนชาวไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหนสามารถเข้าถึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้

นำเทคโนโลยีเชื่อมทุกอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่2 ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลทั้งทางด้านภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ภาคบริการ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถค้าขายแข่งขันและพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน เน้นเป็นพิเศษคือกลุ่มผู้ประกอบการSME ทำไมถึงเป็นกลุ่มSME เพราะว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสูงในเศรษฐกิจไทยและก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างมาก แต่ว่าก็ยังอาจจะไม่เข้าถึง นั่นเราก็จะมุ่งเน้นที่จะช่วยให้กลุ่มนี้เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอล สามารถที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยดิจิตอล

ยกระดับคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ที่3 ในเรื่องของสังคมคุณภาพ ชัดเจนว่าสังคมคุณภาพเราหมายถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในเรื่องของการรักษาพยาบาล ในเรื่องของการศึกษา เราต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าท่านจะเป็นคนไทยอยู่ที่ไหน หรือว่าท่านเป็นผู้สูงอายุ อาจจะเป็นผู้ด้อยโอกาสก็ตาม เทคโนโลยีสามารถที่จะลดความเหลื่อมล้ำแล้วสร้างโอกาสที่สมควรจะได้ให้ได้

เป็นรัฐบาลดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่4 คือการเปลี่ยนแปลงภาครัฐไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ขณะนี้มีแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่า องค์กรหน่วยงานของรัฐบาลไทยจะต้องมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิตอลให้ได้ด้วยวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ ประการที่ 1 เพื่อบริการปรุชาชนให้รวดเร็ว แล้วมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ประการที่ 2 คือเปิดข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลซึ่งเป็นข้องมูลเกี่ยวกับประชาชนให้พวกเราได้รับทราบให้ได้มากที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการภาคประชาชน สามารถไปต่อยอดทำอะไรๆที่สร้างสรรค์ได้อีกหลายอย่างและในขณะเดียวกันรัฐบาลดิจิตอลก็จะเป็นรัฐบาลซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างองค์กร หน่วยงานในภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแชร์ใช้ข้อมูลได้ก็จะทำให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

สร้างความเชื่อมั่น

ยุทธศาสตร์ที่ 5 คือเรื่องของคน เทคโนโลยีคือเทคโนโลยีมีเงินซื้อได้ แต่คนซื้อไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมกันพัฒนาทรัพยากรบุคคล พลังคนของประเทศไทยให้สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมแล้วก็รู้เท่าทัน ไม่เพียงแต่มีทักษะในเทคโนโลยีดิจิตอล ยุทธศาสตร์ที่ 6 นั้น นายอุตตม บอกว่า เป็นเรื่องของการสร้างสภาพแวดล้อม สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ระบบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล เราค้าขายออนไลน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยจริงๆแล้วอยู่แนวหน้าในแง่มุมการค้าขายด้วยอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค มันก็ต้องมีกฎเกณฑ์ กติกา มีมาตรฐานเหมือนกัน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ถูกพบเจออยู่ในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องดิจิตอลไทยแลนด์ ก็จะมีกฎหมายใหม่ออกมา เราจะส่งเสริมในเรื่องของมาตรฐานการค้าขายออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะแข่งขันในเวทีอีคอมเมิร์ซโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นี่คือยุทธศาสตร์ของกระทรวงไอซีที เพื่อไปสู่ "ดิจิทัลไทยแลนด์"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,176 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559