ความเสี่ยงและนวัตกรรม

23 ก.ค. 2559 | 01:00 น.
ธุรกิจครอบครัวก็เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่นที่มีสถานภาพความเสี่ยงทั้งในกลยุทธ์ด้านการเงินและด้านการดำเนินงานเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาการขาดการวางแผนการสืบทอดกิจการการหย่าร้าง การตายและความขัดแย้งในครอบครัวอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อมโยงระหว่างความกล้าเสี่ยงและค่านิยมของธุรกิจ

ดังนั้นจึงอาจนำไปสู่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเนื่องจากต้องการรักษาทรัพย์สินของครอบครัวเอาไว้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ธุรกิจครอบครัวมักมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและไม่ต้องการสร้างนวัตกรรมแม้ว่าพวกเขาจะมีทรัพยากรเพียงพอที่สามารถทำได้ก็ตามทั้งนี้เป็นเพราะพวกเขามักกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านลบที่อาจเกิดขึ้นและกลัวว่าจะทำให้ทรัพย์สินของครอบครัวลดลงไป

[caption id="attachment_74124" align="aligncenter" width="700"] Risk attitude in the family firm, now and in future Risk attitude in the family firm, now and in future[/caption]

จากการสำรวจของ Deloitte EMEAFamily Business Centre ที่ได้ทำการสัมภาษณ์ทายาทรุ่นใหม่ของธุรกิจครอบครัว92 ราย จาก 19 ประเทศในยุโรป เอเชียกลางและแอฟริกา ในปี 2016 พบว่าธุรกิจครอบครัวปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยเกือบ 65% บอกว่าไม่ชอบความเสี่ยงหรือไม่สนใจความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง และประมาณ 1 ใน 3ของผู้ถูกสำรวจยินดีจะลองเสี่ยงในบางครั้ง ทั้งนี้เมื่อถามถึงในอนาคตผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาจะกล้าเสี่ยงมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและมีกำไรมากขึ้นขณะที่ก็ปกป้องความสนใจของครอบครัวมากกว่ารุ่นก่อนๆ อีกด้วย (ภาพที่ 1)

[caption id="attachment_74125" align="aligncenter" width="700"] Innovation : family Innovation : family's innovation awareness and risk appetite[/caption]

นอกจากนี้ยังพบว่านวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับธุรกิจครอบครัว ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า 18% ของผู้ถูกสำรวจบอกว่ามีความสำคัญอันดับ 1 และ76% บอกว่ามีความสำคัญอยู่ใน 3 อันดับแรกเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้ว่า 61%ของผู้ถูกสำรวจจะบอกว่าระดับความตื่นตัวเรื่องนวัตกรรมในบริษัทของพวกเขามีค่อนข้างสูง แต่มีเพียง 40% เท่านั้นที่กล้าเสี่ยงกับนวัตกรรมอย่างเพียงพอในระดับที่สมาชิกในครอบครัวยอมรับได้(ภาพที่ 2)

ดังนั้นสำหรับธุรกิจส่วนใหญ่แล้วครอบครัวต้องการที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอแต่มีข้อจำกัดในเรื่องความเสี่ยง ทั้งนี้กว่าครึ่งของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่าบริษัทของพวกเขาพัฒนานวัตกรรมได้เร็วกว่าบริษัทคู่แข่ง โดยธุรกิจครอบครัวสามารถพัฒนานวัตกรรมและดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยความสนใจระยะสั้นของนักลงทุนภายนอกและตลาดทุน และยังสามารถใช้เงินไปในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาได้มากกว่าบริษัททั่วไปอีกด้วย

ที่มา: Deloitte. 2016. Next-generationfamily businesses Evolution,keeping family values alive. Available:https://www2.deloitte.com/global/en/pages/strategy/articles/emea-family-business-initiative.html.

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,176 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559