วัฒนธรรมผู้ประกอบการของธุรกิจครอบครัว

16 ก.ค. 2559 | 00:00 น.
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสืบทอดกิจการที่ประสบความสำเร็จคือการมีวัฒนธรรมองค์กรแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Culture) ซึ่งเป็นการวัดการดำเนินการอย่างผู้ประกอบการ (Entrepreneurial action) ในธุรกิจครอบครัวว่าทำได้ง่ายเพียงไร หรืออาจนิยามได้ว่าหมายถึงความสามารถของบริษัทในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นกุญแจความสำเร็จในการสืบทอดกิจการนั่นเอง ทั้งนี้การมีวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเผชิญความเสี่ยง ความคล่องตัวในการตัดสินใจและการตอบสนองตลาดได้อย่างรวดเร็วทำให้ธุรกิจครอบครัวมีความได้เปรียบบริษัทคู่แข่งอื่นๆที่มีระบบสายการบังคับบัญชายาวและตอบสนองได้ช้ากว่า

[caption id="attachment_70863" align="aligncenter" width="700"] Enterpreeurial climate Enterpreeurial climate[/caption]

โดยจากการที่ EY และ Kennesaw State University ได้ทำการสำรวจธุรกิจครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก 525 ราย จาก 21 ตลาดใหญ่ทั่วโลก พบว่าธุรกิจครอบครัวทั่วโลกมีวัฒนธรรมองค์กรในมิติความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial climate) ที่แข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตามในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging economics) (ยกเว้นจีนและอินเดีย) พบว่ามีวัฒนธรรมแบบผู้ประกอบการน้อยกว่าในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตามจากการสำรวจในทุกประเทศพบสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่น่าสนใจคือ การมีเป้าหมายในการเติบโตและวัฒนธรรมแบบผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความง่ายในการดึงดูดคนเก่งเข้าสู่องค์กรด้วย

สำหรับบรรดาธุรกิจทั้งหลายต่างต้องการเป็นผู้ประกอบการที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน มีความสามารถในการทำกำไรและมีอายุกิจการยืนยาว แต่สำหรับธุรกิจครอบครัวแล้วมีสิ่งสำคัญมากกว่านั้น โดยพวกเขาไม่ได้มองเพียงแค่รายได้ในแต่ละไตรมาสหรือปีงบประมาณ แต่มองไปถึงในอีก 10 ปีข้างหน้าและทายาทรุ่นต่อไปด้วย และ Carrie Hall ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจครอบครัวกล่าวว่า "ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมักจะให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง"

หมายเหตุ: * = Latin America รวมอยู่ใน Developed economiesดังนั้นการสร้างจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial spirit) ให้เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจครอบครัว และไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปที่จะทำได้ โดยสามารถปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

1) สร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้คนไม่กลัวที่จะผิดพลาดและล้มเหลว ซึ่งความอิสระเหล่านี้มีความจำเป็นต่อความรุ่งเรืองก้าวหน้าทางนวัตกรรม

2) การยกย่องชมเชยสมาชิกในครอบครัวและพนักงานที่ได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากการปฏิบัตินั้นมากกว่าจะมัวไปพยายามคอยมุ่งจำกัดให้ทำผิดพลาดน้อยที่สุดเท่านั้น

3) พยายามสร้างวัฒนธรรมในการช่วยเหลือกันมากกว่าวัฒนธรรมแห่งการตำหนิติเตียน เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ควรต่อว่ากันแต่ควรช่วยเหลือกันและสนับสนุนในเรื่องของการติดต่อสื่อสารและการศึกษา

4) สร้างทีมงานข้ามสายงาน (Cross-functional Teams) เพื่อศึกษาทุกแง่มุมของธุรกิจและตลาด รวมถึงคู่แข่งทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมอื่น นวัตกรรม การจัดกลุ่มลูกค้า สินค้าและบริการในปัจจุบัน ฯลฯ

5) สื่อสารเรื่องราวและแสดงสัญลักษณ์ของความพยายามอุตสาหะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

6) สนับสนุนให้คนได้รับการศึกษาในเรื่องของการเป็นผู้ประกอบการทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7) ลงทุนให้กับสมาชิกในครอบครัวที่มีความพยายามอุตสาหะในการประกอบการที่สอดคล้องกับพันธกิจของครอบครัว

ที่มา : EY. 2015. Preparing or procrastinating?: how the world’s largest family businesses undertake successful successions. Special report based on a global survey of the world’s largest family businesses. Available: http://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/ey-preparing-or-procrastinating/$FILE/ey-preparing-or-procrastinating.pdf

Photo : Pixabay
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,174 วันที่ 14 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559